ยุวดี เอี่ยมสนธิทรัพย์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บริษัท นีลเส็น ประเทศไทย (Nielsen) ผู้ให้บริการด้านการวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภค เปิดเผยยอดการใช้ข้อมูล (data consumption) ของโทรศัพท์สมาร์ทโฟนในประเทศไทย (Smartphone Behavior) สำหรับไตรมาส 3 ที่มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และกิจกรรมการใช้งานและการใช้ในด้านของเอ็ม-คอมเมิร์ซที่มีความน่าสนใจและยังคงเติบโต Brand Buffet สรุปข้อมูลน่าสนใจดังนี้
Mobile Behavior
– ผู้ใช้สมาร์ทโฟนชาวไทยใช้เวลาโดยเฉลี่ย 230 นาที หรือ เกือบสี่ชั่วโมงต่อวันกับการใช้งานโทรศัพท์สมาร์ทโฟนในระหว่างเดือนกรกฏาคม ถึง กันยายน 2559 โดยลดลงจากไตรมาส 2 ที่เฉลี่ย 240 นาที
-สำหรับ 230 นาที หากแตกลงมา ช่วงเวลาที่มีการใช้งานสมาร์ทโฟนมากที่สุด คือช่วงระหว่างเวลา 8 โมงเช้า ถึง 4 ทุ่ม ด้วยค่าเฉลี่ยการใช้งานที่ 10 นาทีต่อชั่วโมง อย่างไรก็ตามช่วงที่ผู้ใช้สมาร์ทโฟนมีความตื่นตัวมากที่สุด หรือ Highest Engagement คือช่วงระหว่าง 1 ทุ่มถึง 3 ทุ่ม ซึ่งมีการใช้เวลากับสมาร์ทโฟนถึง 13 + นาทีต่อชั่วโมง และช่วงเวลาที่ผู้ใช้สมาร์ทโฟนใช้เวลาต่ำกว่าค่าเฉลี่ยคือ 5 ทุ่มถึง 7 โมงเช้า
-การใช้งานสมาร์ทโฟน 3 อันดับแรก
อันดับ 1 ยังคงเป็น การสื่อสาร (communications) โดยใช้เวลาทั้งหมด 75 นาที ต่อวัน ไม่ว่าจะเป็นการโทรคุย แชตไลน์ โทร VOIP อีเมลล์ ส่งข้อความ
อันดับ 2 ที่มีการใช้เวลาบนมือถือรองลงมาคือในส่วนของแอปพลิเคชั่น เฟซบุ๊ค อินสตาแกรม แบงค์กิ้ง เป็นต้น ซึ่งใช้เวลาอยู่ที่ 67 นาที ต่อวัน
อันดับที่ 3 เอนเตอร์เทนเม้นท์ที่ 45 นาทีต่อวัน ได้แก่ เกมส์ หนังออนไลน์ เป็นต้น เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2 ที่ 42 นาทีต่อวัน
-แม้เวลาที่ใช้งานกับสมาร์ทโฟนจะคงที่ แต่ตัวเลขของการใช้ข้อมูลนั้นเติบโตขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญจาก 689 MB ต่อวัน เป็น 810 MB ต่อวัน เพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 3 ทั้งจากการใช้งานผ่าน wi-fi และการใช้งานผ่าน cellular ซึ่งเมื่อรวมการใช้งานของทั้ง wifi และ cellular เข้าด้วยกัน เราจะเห็นได้ว่ามีอัตราการใช้งานทั้งหมดเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 18 เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง ไตรมาสที่ 2 กับ ไตรมาสที่ 3 ในปี 2559 ทั้งนี้ช่วงเวลาที่ผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนใช้งานด้านข้อมูล (data consumption) เยอะที่สุดคือช่วง 2 ทุ่ม ถึง 5 ทุ่ม
“การใช้มือถือในปัจจุบันโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งานสมาร์ทโฟนนั้นมีส่วนในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างเห็นได้ชัด สืบเนื่องมาจากประโยชน์ของการใช้งานมือถือ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงของข้อมูลที่ง่ายขึ้น การส่งต่อข้อมูลที่รวดเร็วขึ้น รวมไปถึงการใช้งานเพื่อความบันเทิง เช่นการดูหนัง ฟังเพลง หรือการเล่นเกมส์ ด้วยปัจจัยเหล่านี้ทำให้ผู้บริโภคสามารถอยู่ในเทรนด์และตามกระแสของสังคมได้ ฉะนั้นแบรนด์ควรที่จะตื่นตัวในการเข้าถึง รวมถึงวิธีการเข้าถึงผู้บริโภคผ่านทางช่องทางนี้ ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของพวกเขา ไม่ว่าจะ ผ่านทางกิจกรรมการใช้มือถือ หรือ ผ่านเนื้อหา หรือ คอนเทนท์ ที่จะสื่อถึงพวกเขา” ยุวดี กล่าว
Mobile Banking and M-Commerce
-การทำธุรกรรมธนาคาร ยังคงมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการทำธุรกรรมธนาคารนั้นเติบโตจาก 49% ในไตรมาสที่ 2 เป็น 51% ในไตรมาสที่ 3 โดย Kmobile Banking Plus มาเป็นอันดับ 1 รองลงมา SCB Easy App และ Bualuang mBanking
– การช๊อปออนไลน์ผ่านมือถือ (mobile shopping) มีการเติบโต จาก 33% ในไตรมาสที่ 2 เป็น 35% ในไตรมาสที่ 3 โดย Lazada Kaidee และ AliExpress App เป็น 3 แอพยอดนิยมในการช๊อปออนไลน์มากที่สุด
– การชำระเงินผ่านมือถือ (mobile payment) มีการเติบโตจาก 24% เป็น 26% ในไตรมาสที่ 3 โดยช่องทางชำระเงินยอดฮิต ได้แก่ Truemoney Wallet 17%, Major Mobie Plus aap 3% , AirPay 3% , mPay App 3% และ SCB UP2ME 1%
Key Takeaway
1.จำนวนการใช้งานสมาร์ทโฟนทั้งวัน 230 นาที โดยการใช้งาน Entertainment เริ่มมากขึ้นแต่การ Communication ยังเป็นส่วนหลัก และช่วงทองเวลาเข้าถึงผู้บริโภคผ่านสมาร์ทโฟน ตั้งแต่ 1 ทุ่ม ถึง 3 ทุ่ม
2.จำนวนดาต้า 810 MB ยังขึ้นเติบโตขึ้นอีกเรื่อยๆ ทั้ง Cellular และ Wifi ตามโครงสร้างพื้นฐานสื่อสารที่พัฒนาเพิ่มขึ้น โอเปอเรเตอร์มีแพ็คเกจตอบโจทย์ลูกค้าเพิ่มขึ้น และร้านอาหารมีบริการ Wifi ลูกค้ามากกขึ้น
3.อัตราการใช้งาน Mobile Banking หรือ การเทรดดิ้งหุ้น (BFSI) สูงขึ้นถึง 51% แสดงให้เห็นถึงความมั่นใจของผู้บริโภคที่เริ่มวางใจทำธุรกกรรมผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นแบรนด์ต้องเสริม Purchase Channel นี้ให้กับผู้บริโภค เพื่อสร้างยอดขายและสร้างปฏิสัมพันธ์
ยุวดี เอี่ยมสนธิทรัพย์
“การเติบโตนี้ตอกย้ำว่าการใช้งานสมาร์ทโฟนด้านการเงินการธนาคาร และชำระเงินผ่านมือถือ รวมถึงชอปปิ้งผ่านมือถือนั้นมีบทบาทในสังคมไทยเราและได้รับการยอมรับมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งการเปิดรับในเรื่องนี้ที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภค ถือเป็นตัวบ่งชี้ที่ดีว่าแบรนด์มีโอกาสในการเข้าถึงผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้นจากช่องทางเหล่านี้ เนื่องจากช่องทางเหล่านี้ถือเป็นช่องทางของการจับจ่าย หรือการทำธุรกรรมที่สะดวกสบาย เป็นช่องทางที่ผู้บริโภคสามารถทำรายการเหล่านั้นได้ด้วยตัวเอง ในเวลาที่ตัวเองสะดวก ดังนั้นหากแบรนด์ใดมีการนำเสนอการให้บริการบนเอ็ม-คอมเมิร์ซ ก็จะเป็นโอกาสในการเพิ่มช่องทางการปฏิสัมพันธ์ หรือ การ engage กับลูกค้าได้” ยุวดี กล่าว
FYI
กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,078 คน แบ่งเป็นหญิง 46% ชาย 54% อายุ 15 ปีขึ้นไป การวัดนั้นได้มีการใช้เทคโนโลยี