การเปลี่ยนผ่านจาก “ยุคอนาล็อก” เข้าสู่ “ยุคดิจิทัล” อาจทำให้หลายคนที่ไม่พร้อมปรับตัว เกิดความกังวลว่าจะเข้ามาทำลายล้างวิถีเดิมๆ ที่เคยปฏิบัติกันมา แต่แท้จริงแล้วการเกิดขึ้นของยุคดิจิทัล เป็นการสร้าง “โอกาส” มากกว่า
“โอกาส” ที่จะนำพาประเทศไทยหลุดพ้นจากปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านสังคม การศึกษา การสาธารณสุขทำให้เกิดการกระจายรายได้ทั่วถึง รวมทั้งคนไทยกว่า 70 ล้านคนสามารถติดต่อสื่อสาร และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารโดยไม่มีพรมแดนมาขวางกั้น เพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ นำไปสู่การต่อยอดทางความรู้ ยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น แต่ “โอกาส” ที่ว่านี้ จะไปถึงประชาชนคนไทยทั่วประเทศหรือไม่นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่มีการลงทุนมหาศาลในการสร้าง “Digital Infrastructure” โดยต้องประสานความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน
เหมือนที่ “เอไอเอส” กำลังทำอยู่ในขณะนี้ โดยในแต่ละปีเอไอเอสลงทุนไม่ต่ำกว่า 45,000 ล้านบาท พัฒนา Infrastructure ทั้งเครือข่ายดิจิทัล อย่างในปีนี้จะยกระดับเครือข่ายไปสู่ Next G Network (Next Generation) ทั้ง Mobile, Super WiFi และ Fixed Broadband ที่รองรับการใช้งานระดับกิกะบิท (Gigabit Network) และการพัฒนาสู่ Narrowband IoT ที่รองรับการใช้งานอุปกรณ์ IoT ต่างๆ ซึ่งการลงทุนเหล่านี้ ไม่ใช่เพียงแค่ให้บริการลูกค้าเอไอเอสที่มี 41 ล้านรายเท่านั้น แต่ยังเป็นการทำเพื่อประเทศชาติและคนไทยทุกคน
“เอไอเอสในฐานะเป็น Digital Life Service Provider เรายืนยันว่าจะร่วมทำงานกับภาครัฐในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไปสนับสนุน เสริมความแข็งแกร่ง สร้างโอกาสการเข้าถึง และความเท่าเทียมกันของประชาชนที่มีอาชีพอยู่ในรากฐานหลักของประเทศ ผ่านแนวคิด “AIS Digital For Thais” ที่เชื่อว่าจะช่วยเพิ่มศักยภาพและสร้างการเติบโตสู่ประเทศไทย 4.0 ได้สำเร็จตามนโยบายรัฐบาลอย่างแน่นอน” คุณสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส ฉายภาพวิสัยทัศน์
เจาะลึกแนวคิด “Digital For Thais” เพื่อคนไทยทุกคน
ภายใต้วิสัยทัศน์ “Digital For Thais” ที่นำ Infrastructure ของเอไอเอส สร้างความร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจในการพัฒนา “Digital Platform” เพื่อสร้างโอกาสความเท่าเทียมในสังคม และยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย 4 ด้านหลัก คือ
1.ด้านเกษตรกรรม และผู้ประกอบการ OTOP เนื่องด้วยภาคการเกษตร เป็นพื้นฐานสำคัญของประเทศไทย และเกษตรกร ผู้ประกอบการ OTOP และผู้ค้ารายย่อย หรือ SME เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
“เอไอเอส” จึงมีแนวคิดนำเทคโนโลยีดิจิทัลมา “ยกระดับ” วิถีชีวิตและการประกอบอาชีพของเกษตรกร ผู้ประกอบการ OTOP และผู้ค้ารายย่อย ด้วยการจับมือกับ “บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี (ประเทศไทย) จำกัด” ร่วมกันสร้าง “Digital Platform” แอปพลิเคชั่น “ฟาร์มสุข” ที่เป็นทั้งคลังความรู้ด้านภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับการทำการเกษตรจากผู้เชี่ยวชาญชั้นนำ ความรู้ด้านบรรจุภัณฑ์ การสร้างความแตกต่างให้สินค้า รวมทั้งเพิ่มมูลค่าสินค้า ด้วยเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้านการเกษตร นอกจากนี้แอปพลิเคชั่นนี้ยังเป็นช่องทางการซื้อขายสินค้า หรือ E-Commerce ในการนำสินค้าของเกษตรกร และผู้ค้ารายย่อย ไปหาผู้ซื้อได้โดยตรง
2.ด้านสาธารณสุข ทุกวันนี้ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสาธารณสุข และสุขภาพในชนบทห่างไกลยังมีอยู่มาก จำเป็นต้องใช้ “อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน” หรือ อสม. ช่วยดูแลคนไทยในพื้นที่ห่างไกล และติดต่อประสานงานกับโรงพยาบาลประจำตำบล
“เอไอเอส” ต้องการลดความเหลื่อมล้ำดังกล่าว และยกระดับคุณภาพการให้บริการสาธารณสุข และสุขภาพของคนไทย โดยเน้นความทั่วถึง คุณภาพ และประสิทธิภาพของการให้บริการสาธารณสุข โดยให้ความสำคัญกับการป้องกันโรค มากกว่าเมื่อป่วยแล้วรักษา จึงได้จัดทำแอปพลิเคชั่น “อสม.ออนไลน์” เป็นแอปฯ ที่ออกแบบมาเพื่อให้เป็นเครื่องมือสื่อสารสำหรับปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในพื้นที่นั้นๆ อีกทั้งมุ่งพัฒนานวัตกรรมที่ช่วยให้คนไทยสามารถเข้าถึงแพทย์ และการดูแลสุขภาพได้อย่างสะดวกและง่ายยิ่งขึ้น ทั้งยังร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ด้านสุขภาพ สร้างแอปพลิเคชั่น
นอกจากนี้ เอไอเอสได้ร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ด้านสุขภาพ สร้างแอปพลิเคชั่น “พบหมอ” สามารถเชื่อมต่อกับ Wearable Device เพื่อเก็บข้อมูลด้านสุขภาพของตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นความดัน อัตราการเต้นของหัวใจ และติดต่อพูดคุยเพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับสุขภาพโดยตรงกับหมอได้ เพื่อทำให้คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงระบบทางการแพทย์ได้อย่างสมบูรณ์ และสะดวกยิ่งขึ้น
3.ด้านการศึกษา เมื่อเอ่ยชื่อ “เอไอเอส” ไม่เพียงแต่คนจะนึกถึงบริการด้านโทรคมนาคมเท่านั้น ขณะเดียวกันคนยังนึกถึงโครงการ “สานรัก คนเก่งหัวใจแกร่ง” โครงการเพื่อสังคมด้านการศึกษาที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2544 ถึงทุกวันนี้ ด้วยการมอบทุนการศึกษาจนจบระดับปริญญาตรีให้กับเยาวชนขาดโอกาสที่มีความประพฤติดี รวมถึงมอบอุปกรณ์การกีฬาในโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ
และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย “Thailand 4.0” เอไอเอสจึงได้นำ “เทคโนโลยีดิจิทัล” เข้าไปยกระดับคุณภาพชีวิตการศึกษา ด้วยการติดตั้งเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และ AIS PLAYBOX รุ่นพิเศษที่มาพร้อมกับคอนเทนต์ด้านการศึกษา สาระความรู้และสารคดี เพื่อเปิดโอกาสการเข้าถึงแหล่งข้อมูล สาระ ความรู้ให้แก่เยาวชนไทยทุกคน มอบให้กับโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลทั่วประเทศกว่า 200 โรงเรียน นอกจากนี้ยังร่วมมือกับ “บริษัท อักษร เอ็ดดูเคชั่น จำกัด” ในการนำเนื้อหาความรู้ที่เป็นประโยชน์กับคุณครู เข้ามาพัฒนาองค์ความรู้ในการสอนหนังสือให้กับนักเรียน
4.สถานที่สำหรับ Startup และ ผู้ประกอบการยุคดิจิทัล “AIS D.C.” เอไอเอสเล็งเห็นความสำคัญของการต่อยอดความรู้ให้กับคนรุ่นใหม่ จึงเปิดสถานที่ที่เป็น “ศูนย์กลางของกลุ่มครีเอเตอร์” ให้มีพื้นที่สร้างสรรค์และแบ่งปันแรงบันดาลใจ ร่วมกับ “ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ” หรือ “Thailand Creative & Design Center” (TCDC) เพื่อเป็นแหล่งบ่มเพาะความรู้และเพิ่มความสามารถของคนไทย ให้นำความสามารถไปต่อยอดในการพัฒนาประเทศ ภายใน AIS D.C. ประกอบด้วย บริการมากมายที่ตอบโจทย์กลุ่มครีเอเตอร์รุ่นใหม่ รวมถึง AIS Playground ที่แรกในประเทศไทยที่ให้ Startup ได้ทดสอบระบบเชื่อมต่อ API บน Product & Service ของตนเอง กับ AIS Digital Platform ที่รองรับการทำ Digital Business ได้หลากหลาย พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญจากเอไอเอสที่จะให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด
“การประกาศวิสัยทัศน์ “Digital For Thais” คือความมุ่งมั่นในการนำขีดความสามารถทั้งแรงกาย แรงใจ และองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของชาวเอไอเอสทุกคน ไปร่วมสนับสนุนภาครัฐ เพื่อยกระดับ Digital Infrastructure ของประเทศ ให้มีความแข็งแกร่ง พร้อมเชื่อมโยงและพัฒนาประเทศอย่างทั่วถึง และเท่าเทียม เพื่อก้าวสู่การเป็นประเทศไทย 4.0 ตามนโยบายของรัฐบาล” คุณสมชัย สรุปทิ้งท้ายถึงความตั้งใจของชาวเอไอเอส