HomeDigital“เล็ก” แต่ “ใหญ่” พลังแห่ง “Micro Influencer” เมื่อผู้บริโภคไม่ฟังแบรนด์ ข้อมูลจากผู้ใช้จึงสำคัญที่สุด

“เล็ก” แต่ “ใหญ่” พลังแห่ง “Micro Influencer” เมื่อผู้บริโภคไม่ฟังแบรนด์ ข้อมูลจากผู้ใช้จึงสำคัญที่สุด

แชร์ :

เมื่อตลาดขับเคลื่อนมาสู่ยุคที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อแบรนด์ถูกสั่นคลอนอย่างหนัก  ผู้บริโภคเริ่มไม่เชื่อถือแบรนด์  ไม่ฟังแบรนด์ และเริ่มถามหาความจริงใจจากแบรนด์มากขึ้น  กลยุทธ์การสื่อสารจากฟากฝั่งของแบรนด์จึงต้องเปลี่ยนแปลงไป  ด้วยการหาคนที่ผู้บริโภคยอมฟังมาเป็นคนพูดแทนจากที่เคยใช้คนที่มีชื่อเสียง  คนที่ผู้บริโภคชื่นชอบมาเป็นคนพูด แต่ก็ดูเหมือนว่าผู้บริโภคจะจับทางถูก  ทำให้แบรนด์ที่ใช้กลยุทธ์นี้  ในยุคนี้จึงสร้างได้แค่  Awareness  แต่ไม่สามารถสร้าง Trust  หรือ Engagement จากผู้บริโภคได้อีกต่อไป

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

การหา  Influencer  หรือผู้นำทางความคิดที่ผู้บริโภคยอมฟัง จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับแบรนด์   และสอดคล้องกับเทรนด์การตลาดในเรื่องของการทำ Content Marketing  เพื่อครีเอทเรื่องราวให้เชื่อมโยงกับแบรนด์  โดยที่ลูกค้าไม่ได้รู้สึกว่าถูกยัดเยียดมากเกินไปจนเกิดการปฏิเสธ

คุณอนุพงศ์  จันทร  กรรมการผู้จัดการ  บริษัท  อัลเทอร์เนท 65 จำกัด  ผู้ดูแลแพลตฟอร์มรีวิวสินค้าและบริการภายใต้ชื่อ  Revu  (เรวู)  กล่าวว่า  เป้าหมายในการทำ Content Marketing  สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน  โดยเฉพาะในเรื่องของการซื้อสินค้า ที่จะนิยมเสิร์ชหาข้อมูลของสินค้าหรือบริการจากหลายๆ แห่ง  เพื่อใช้ในการประกอบการตัดสินใจ  โดยพบพฤติกรรมที่น่าสนใจคือ  ข้อมูลที่ลูกค้าเข้าไปดูจากเว็บไซต์ของแบรนด์คือ ข้อมูลทั่วไปของสินค้าหรือบริการเท่านั้น   แต่ข้อมูลที่จะมีผลต่อการตัดสินใจซื้อ คือ ข้อมูลจากการรีวิว หรือประสบการณ์ของผู้ที่เคยใช้มาก่อน

“สิ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนว่าผู้บริโภคไม่เชื่อสิ่งที่แบรนด์พูด  มองว่าแบรนด์ไม่มีความจริงใจ   จึงเลือกไปหาข้อมูลจากคนที่เคยใช้งาน  โดยเฉพาะถ้าเป็นเพื่อนหรือเป็นคนรู้จัก จะยิ่งเชื่อถือมากยิ่งขึ้น  ซึ่งเป็นเทรนด์ที่เกิดขึ้นเหมือนกันทั้งโลก  ทำให้ปีนี้การใช้ Influencer  มาช่วยในการสื่อสารแบรนด์เข้ามามีบทบาทในมิติของการทำคอนเทนต์มากยิ่งขึ้น  จากสองปีก่อนหน้าที่จะนิยมสร้าง BUZZWORD  หรือการทำ Viral  เพื่อทำ Social Marketing  เป็นตัวสร้างกระแส”

ขณะที่พัฒนาการในการทำตลาดผ่าน Influencer  ก็เปลี่ยนแปลงไปตามพฤติกรรมของผู้บริโภคเช่นกัน  เนื่องจาก ผู้บริโภคในปัจจุบันเริ่ม “จับทาง”  แบรนด์ได้มากขึ้น  ทำให้การเลือกใช้  Influencer  ต้องคำนึงถึงความ Real  หรือ ความจริงใจที่ผู้บริโภคมักถามหาจากแบรนด์อยู่เสมอ  ความนิยมในการใช้  Micro Influencer จึงเริ่มได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้น   ขณะที่นักการตลาดเอง ก็ต้องทำการจัดหมวดหมู่ Influencer  ใหม่  เพื่อใช้ให้ตรงกับวัตถุประสงค์  โดยแบ่งออกมาได้ 4 กลุ่ม ต่อไปนี้

 Celebrities   หรือคนที่มีชื่อเสียงในสังคม ดารา นักร้อง นักแสดง  มีคนติดตามมากกว่า 1  ล้านคนขึ้นไป

 Power  Influencers  หรือกลุ่มบล็อกเกอร์ที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จัก และมีผู้ติดตามตั้งแต่ 1 แสน ถึง 1 ล้านคน

–  Peer Influencers    คือ  กลุ่มบล็อกเกอร์ที่มีความชื่นชอบ หรือเชี่ยวชาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษ  ทำให้มีคนที่ชื่นชอบในเรื่องเดียวกันมาติดตาม   โดยมีจำนวนผู้ติดตามประมาณ  1 หมื่น ถึง 1 แสนคน

Micro Influencers  คือ คนทั่วไปที่ชื่นชอบการรีวิวสินค้า  หรือชอบเขียนบล็อกของตัวเอง โดยมีผู้ติดตามประมาณ 1 พัน ถึง 1 หมื่นคน

แต่ข้อมูลที่น่าสนใจมากกว่านั้นคือ  ความ Powerful  ของ  Influencer  ในแง่จำนวนผู้ติดตาม หรือ Followers นั้น  กลับสวนทางกับความเชื่อถือ และความไว้วางใจที่ได้รับจากผู้บริโภคอย่างสิ้นเชิง

ทำไมต้องใช้  Micro Influencers ?  

คุณอนุพงศ์  ให้ข้อสังเกตว่า  Micro Influencers  เป็นเพียงคนธรรมดาทั่วไป  และคนที่ติดตามส่วนใหญ่ก็จะเป็นเพื่อน  เป็นคนที่รู้จักกัน  ทำให้ผู้บริโภคเชื่อว่าเป็นการรีวิวที่มาจากประสบการณ์ที่ได้ใช้เองจริงๆ  ขณะที่คนมีชื่อเสียงมักมีเหตุผลทางธุรกิจแอบแฝง  ส่วนการเลือกใช้ก็ขึ้นอยู่กับโจทย์ของแบรนด์ด้วยว่า  ต้องการสร้างให้เกิด Awareness  หรือต้องการสร้าง Engagement  มากกว่ากัน

ขณะที่  Shopping Journey  ของผู้บริโภค  ที่นิยมเสิร์ชหาข้อมูลก่อนตัดสินใจซื้อ  ทำให้แบรนด์ต้องการให้ผู้บริโภคมองเห็นเมื่อทำการเสิร์ชข้อมูล  จึงพยายามสร้างคอนเทนต์ในรูปแบบต่างๆ  เพื่อให้เข้าไปอยู่ในระบบ SEO  โดยเฉพาะการใช้วิธีรีวิว เพื่อให้ช่วยกระจายคอนเทนต์ออกไปตามสื่อออนไลน์ ทั้ง Blog,  Facebook, Fan Page หรือ  IG  โดยเฉพาะถ้าเป็นข้อมูลรีวิวจากผู้ใช้งานจริงผ่าน Own Media  ของแต่ละคนจะยิ่งสร้างความน่าเชื่อถือได้มากขึ้น  เพราะหากไปทำการรีวิวผ่านเว็บบอร์ดหรือสังคมออนไลน์ก็อาจจะถูกมองว่าเป็นคนของแบรนด์ออกมาพูด และไม่สนใจที่จะฟัง

เมื่อเทรนด์ต่างๆ ชัดเจนมากขึ้น  Revu จึงถูกพัฒนาขึ้นมาเมื่อปีที่ผ่านมา ในฐานะ  Review Platform แห่งแรกและแห่งเดียวในขณะนี้   เพื่อเป็นตัวกลางระหว่างแบรนด์และบล็อกเกอร์  หรือ Micro Influencers  ที่มีศัพท์เรียกเฉพาะภายในว่า Reviewer  เพื่อเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือให้กับแบรนด์ในการสร้างความเชื่อมั่น  และเพิ่มโอกาสให้ลูกค้ามองเห็นแบรนด์ได้มากยิ่งขึ้นเมื่อทำการเสิร์ชหาข้อมูล  ซึ่งการใช้ Micro Influencer มาเป็นผู้รีวิว  ยังเป็นการลด Pain Point  ในเรื่องที่ลูกค้าไม่เชื่อถือแบรนด์  ประกอบกับนโยบายไม่มีการจ่ายค่าตอบแทนเป็นเงิน  รวมทั้งต้องรีวิวจากการใช้งานจริงเท่านั้น  เพื่อให้ถ่ายทอดความรู้สึกได้อย่างตรงไปตรงมา  ทำให้ผู้บริโภคเชื่อถือยิ่งขึ้น

โอกาสของแบรนด์จากการใช้ Micro Influencer

1.ได้ Engagement ที่มากขึ้น เมื่อเทียบกับการใช้ Power Influencer ที่มี Engagement Rate ประมาณ 1.6 -2% ขณะที่ Micro Influencer อยู่ที่ราว 5-8%

2.ความน่าเชื่อถือที่มากกว่า เพราะ Followers ส่วนใหญ่มักจะเป็นเพื่อน หรือคนรู้จัก และมักจะชื่นชอบในสิ่งเดียวกัน ซึ่งมีโอกาสขยายไปสู่กลุ่มเพื่อนของเพื่อนต่อเนื่องไป ทำให้มีผู้ติดตามมากขึ้นและเหนียวแน่นกว่า

3.การแข่งขันน้อย เพราะในตลาดส่วนใหญ่ยังนิยมใช้ Macro หรือ Power Influencers ขณะที่ฝั่งผู้บริโภคเริ่มมองว่าการใช้คนมีชื่อเสียงเป็นการโฆษณา  ทำให้การใช้ Micro Influencer มีประสิทธิภาพมากกว่า และคุ้มค่ากว่า

4.ไม่มีข้อจำกัดในการรีวิวสินค้า เพราะสามารถรีวิวได้ทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น Beauty  Fashion  Gadget Dining Hotel  เป็นต้น

5. โอกาสในการขยายตัวอีกมาก เมื่อเทียบตัวเลข Revu ที่มี Micro Influencer 6,500 คน เติบโตจาก 400 คนในช่วงเริ่มต้น และตั้งเป้าหมายเพิ่มให้ได้ 1 หมื่นคน แต่หากเทียบกับเกาหลีใต้ที่มี Shopping Journey ไม่ต่างกัน  ตอนนี้มี  Micro Influencer  มากกว่า 2.6 แสนคนแล้ว

ขณะที่ในมุมผู้ให้บริการแพลตฟอร์มอย่าง Revu   มองโอกาสในการมาโฟกัส  Micro Influencer  ว่าจะสร้างโอกาสทางการตลาดได้อย่างมาก จากจำนวนแบรนด์ที่เข้ามาใช้บริการปัจจุบันที่ 300 -400 ราย  มีแคมเปญต่างๆ ออกมาไม่ต่ำกว่า 1  พันแคมเปญ  ผลงานรีวิวมากกว่า 5 พันชิ้นงาน  โดยในปีหน้า ตั้งเป้ามีแบรนด์เข้ามาใช้บริการ  1 พันราย  และเพิ่มจำนวนแคมเปญให้ได้ 3 พันแคมเปญ ผลงานรีวิวไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นชิ้นงาน  ด้วยราคาแพกเกจที่คุ้มค่าในเริ่มต้น  35,000  บาท  ผ่านการใช้  Reviewer  จำนวน 10 คน เป็นสิ่งดึงดูด ประกอบกับได้ผลจริงทางการตลาด ทำให้มีแบรนด์ประมาณ  20%  ใช้บริการต่อเนื่อง ขณะที่สินค้าส่วนใหญ่กว่า 80%  จะมาจากกลุ่ม Beauty

 

“สิ่งสำคัญคือ เราต้องการเข้ามา Set Standard  ให้กับการรับรีวิวสินค้าและบริการ โดยเฉพาะในเรื่องของราคาที่สามารถควบคุมได้  จากตอนนี้จะขึ้นอยู่กับบล็อกเกอร์แต่ละคนจะเรียก รวมทั้งการวัดผลที่สามารถจับต้องและพิสูจน์ได้ว่าเครื่องมือนี้มีประสิทธิภาพ  และหากเทียบกับเครื่องมือในกลุ่ม Content Marketing ด้วยกัน  การรีวิวถือว่าเป็นเทรนด์ที่มาแรงและเติบโตที่สุด  มีสัดส่วนการใช้งบที่ 10%  จากการใช้เม็ดเงินในกลุ่มคอนเทนต์มาร์เก็ตติ้ง  สวนรายได้ของ Revo เฉลี่ยที่เดือนละ 1-1.5 ล้านบาท  พร้อมตั้งเป้ารายได้ในปีหน้าเติบโตเพิ่มขึ้น 30%”


แชร์ :

You may also like