นับตั้งแต่ปี ค.ศ.2011 เป็นต้นมา ประชากรในประเทศญี่ปุ่นมีอัตราการเกิดลดลง ประเทศญี่ปุ่นจะเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างเต็มตัว ขณะที่หนุ่มสาวคนรุ่นใหม่ก็กระจุกตัวในเมือง และชนบทเหลือเพียงผู้สูงอายุ นั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้กลุ่มทุนญี่ปุ่นไม่ว่าจะเป็นสินค้า FMCG, แฟชั่น ดาหน้าสยายปีกมาสู่อาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยซึ่งสภาพภูมิศาสตร์เป็นศูนย์กลางของภูมิภาค เพื่อสร้างการเจริญเติบโตของบริษัทต่อไป และปรากฏการณ์การร่วมทุนของภาคอสังหาริมทรัพย์ ก็เป็นอุตสาหกรรมที่ “ญี่ปุ่น” ขยายอิทธิพลเข้ามาในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด “ฮันคิว เรียลตี้” และ “บริษัท เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)” ร่วมทุนกัน พัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมจับกลุ่มเป้าหมายระดับกลาง-บน ด้วยการชูจุดเด่น“Geo fit+” แนวคิดการพัฒนาโครงการที่ถอดแนวความคิดแบบญี่ปุ่นมาพัฒนาให้สอดคล้องกับคนไทย
“ฮันคิว เรียลตี้” เป็นหนึ่งในบริษัทภายใต้เครือ Hankyu Hanshin Holding Group ซึ่งเป็นกลุ่มทุนใหญ่ดำเนินธุรกิจหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน ศูนย์การค้า โรงแรม โรงละคร และสนามเบสบอลนอกเหนือจากเรื่องของความยิ่งใหญ่ของบริษัทแล้ว สิ่งที่ ดร.ยุ้ย- ผศ.ดร เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ประทับใจก็คือปรัชญาการทำงาน ที่เริ่มต้นจากลูกค้า
“เมื่อเดือนมกราคม ปีที่แล้วได้ไปเยี่ยมชมโครงการของฮันคิวที่โอซาก้า ก็ค้นพบว่ามีปรัชญาการทำงานที่เหมือนกัน คือการคิดถึงลูกค้าเป็นหลัก ซึ่งเรียกว่า Geo fit+ เป็นนวัตกรรมความคิด วิธีการก็คือ เขาจะสำรวจความคิดเห็นจากลูกค้าหรือผู้บริโภค ที่ผ่านมาก็ประมาณ 10,000 Samples แล้ว และเขาไม่ใช่แค่เก็บแบบสอบถามมาอย่างเดียว แต่นำเอาแนวคิดมาทดลองในห้องแล็บ แล้วก็นำเอาลูกค้ามาเทสต์ว่าการแก้ปัญหานั้นถูกใจผู้บริโภคหรือเปล่า นี่คือเรื่องที่เรารู้สึกว่าเป็นแนวคิดที่สอดคล้องกัน และเราก็ได้ประโยชน์จากแนวคิดนี้”
จากปรัชญาการทำงาน Geo fit+ ถูกพัฒนาเป็น 4 เรื่อง
– Geo Day (จีโอเดย์) เน้นว่าจะพัฒนาโปรดักท์อย่างไรให้เข้ากับการใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน เช่น แม่บ้านเมื่อทอดอาหาร น้ำมันกระเด็น ดังนั้นเคาน์เตอร์ครัวควรใช้วัสดุอะไรเพื่อแก้ปัญหานี้
– Geo Eco (จีโออีโค่) การแสวงหาแนวทางประหยัดพลังงานไม่ว่าจะเป็น ไฟฟ้า, เชื้อเพลิง หรือน้ำ
– Geo Age (จีโอเอจ) เมื่อสังคมญี่ปุ่นกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ดังนั้นการออกแบบต่างๆ จึงรองรับเทรนด์นี้ก่อนหน้าประเทศไทย เสนาฯ หวังว่าจะนำเอาประสบการณ์ด้านนี้มาใช้ในโครงการ
– Geo Sonae (จีโอ โซนาเอะ) เน้นเรื่องความปลอดภัย ตั้งแต่เรื่องใหญ่ เช่น แผ่นดินไหว ไปจนถึงเรื่องที่ใกล้ตัวมากขึ้น มี Care Unit หรือห้องพยาบาลภายในโครงการ พร้อมสรรพด้วยเครื่องปั๊มหัวใจและบุคลากรที่ฝึกฝนมาแล้ว อีกทั้งยังมีการออกแบบพื้นที่บางส่วนให้รองรับเปล, เตียงพยาบาล ในกรณีฉุกเฉิน
แนวคิดดังกล่าวทางเสนาฯ ซึ่งเข้าใจตลาดและพฤติกรรมคนไทยจะนำมาปรับอีกครั้ง แนวคิดบางอย่างที่อิงกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นก็จะถูกหยิบยกออกไป เช่น นวัตกรรมที่พัฒนาน้ำมันทอดเทมปุระให้กลายเป็นน้ำมันรถที่ใช้วิ่งรับ-ส่งในโครงการ ก็อาจจะไม่คุ้มค่าเมื่อนำมาปรับใช้ในประเทศไทย แล้วเหลือแค่ประเด็นที่เหมาะสมเอาไว้
“บางครั้งการตั้งคำถามสำคัญกว่า คำตอบ ปรัชญาตรงนี้แหละ ที่ทางเสนาฯ รู้สึกว่าจำเป็น เราต้องฝึกตั้งคำถามให้ถูกต้อง เช่น ครอบครัวที่อยู่กัน 3 คน พ่อ-แม่-ลูก เราอาจจะต้องหาคำตอบว่า เขามีปัญหาอะไรบางหรือเปล่า ซึ่งปัญหานั้นอาจจะเป็นปัญหาที่ลูกค้าเองก็มองไม่เห็นด้วยซ้ำ เช่น ตู้ชั้นบนสุด บางครั้งมีก็จริงแต่เราก็ไม่ได้ใช้เพราะมันอยู่สูงเกินไป แปลว่าเราจะต้องออกแบบให้ดึงลงมาได้ หรือมีบันไดที่ปีนขึ้นไปได้ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นวิธีคิดที่เราได้ประโยชน์จากการร่วมทุนกับฮันคิว นอกเหนือจากเรื่องเงินทุน” ดร.ยุ้ย อธิบายเพิ่มเติม
สำหรับโครงการแรกที่จะเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมคือ โครงการ Niche Pride เตาปูน-อินเตอร์เชนจ์ และโครงการ Niche MONO สุขุมวิท- แบริ่ง ซึ่งจะเริ่มต้นในไตรมาสที่ 3-4 ปีนี้ รวมมูลค่า 2 โครงการ 7,000 ล้านบาท และหวังว่าจะมีโครงการอื่นๆ ต่อไปอีก
โครงการ Niche MONO สุขุมวิท – แบริ่ง
ในการนี้ทางเสนาฯ ตั้งใจสื่อสาร Trustmark หรือเครื่องหมายคุณภาพ เพื่อส่งความน่าเชื่อถือที่ทั้งสองบริษัทตั้งใจพัฒนาขึ้นมาไปสู่ลูกค้า เหมือนตรารับรองสินค้าและบริการที่เสนา และฮันคิว พัฒนาร่วมกันเพื่อตลาดในประเทศไทย นับจากนี้ ถ้ามีตราประทับ Geo fit+ มั่นใจได้ว่า “ใส่ใจต่อการบริการลูกค้าเป็นอันดับหนึ่ง ให้ความสำคัญกับการบริการลูกค้าเป็นอันดับหนึ่ง”
และในปีนี้เราคงได้เห็นอะไรใหม่ๆเกิดขึ้นบ้างหลังจากการร่วมมือระหว่าง SENA และ ฮันคิว ออกมาเป็นโปรเจคแรกก่อนเร็วๆนี้ คือ Niche MONO สุขุมวิท – แบริ่ง ซึ่งสามารถติดตามและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมของโครงการดังกล่าว ได้ที่
http://www.sena.co.th/register/niche-mono-sukhumvit-bearing