ประกาศฐานะผู้นำตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านมาตลอด 9 ปี จากนโยบายที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมที่เป็น World’s first ด้วยความพร้อมทั้งในเรื่องของฐานการผลิต ที่มีโรงงานกระจายไปใน 38 แห่งทั่วโลก มีศูนย์วิจัยและพัฒนา 36 แห่ง พร้อมให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างจริงจังด้วยการทุ่มงบถึง 1 ใน 4 เพื่อการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งในเรื่องของการดีไซน์ผลิตภัณฑ์ที่มีศูนย์ออกแบบและดีไซน์เซ็นเตอร์กระจายอยู่ใน 6 ประเทศ
คำยืนยันจาก คุณเสาวณีย์ สิรารินกุล ผู้อำนวยการธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน บริษัท ไทยซัมซูง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันซัมซุงเป็นแบรนด์ผู้นำในตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน (HA : Home Appliance) โดยสินค้าภายใต้แบรนด์ซัมซุงล้วนอยู่ใน Top 3 ของทุกตลาด และสามารถรักษาความเป็นผู้นำมาได้ถึง 9 ปี รวมทั้งในปี 2018 ที่มีเป้าหมายรักษาตำแหน่งผู้นำในตลาดไว้ให้ได้เป็นปีที่ 10 อย่างต่อเนื่อง
สำหรับกลยุทธ์ที่ซัมซุงจะใช้เพื่อทำตลาดในปี 2018 จะขับเคลื่อนภายใต้ 3 กลยุทธ์ ซึ่งถือเป็น Global Strategy ประกอบด้วย
1. Premium Innovation : ให้ความสำคัญกับการทำตลาดในระดับพรีเมียม ผ่านการพัฒนาสินค้านวัตกรรมเข้ามาสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อครีเอทให้เกิดดีมานด์ใหม่ๆ ในตลาด
2. Collaboration For Growth : การทำตลาดร่วมกับพันธมิตรทั้งรูปแบบ Offline และOnline โดยเฉพาะให้ความสำคัญกับการใช้ประโยชน์จาก Big Data เพื่อทำตลาดที่เป็น Targeted Marketing และมีความเป็น Personalize มากขึ้น
3. One Samsung : การใช้นโยบาย Convergence เพื่อเชื่อมต่อการทำงานของสินค้าภายในบ้านเข้าด้วยกันด้วยระบบ Internet of Things จากการผนวกจุดแข็งสินค้าแต่ละชนิดและจุดแข็งของแบรนด์ที่มีไลน์อัพสินค้าครอบคลุมทุกกลุ่ม
เพิ่มดีมานด์ตลาดประเทศไทย
สำหรับการทำตลาดในประเทศไทย จะดำเนินการอย่างสอดคล้องไปกับทั้ง 3 กลยุทธ์ข้างต้น พร้อมเพิ่มงบตลาดจากเดิมอีกราว 10% เพื่อเพิ่มดีมานด์ใหม่ๆ ในตลาด ด้วยการพัฒนาสินค้านวัตกรรมเข้ามาช่วยขับเคลื่อน ทั้งในกลุ่มที่มีการถือครองในตลาดสูงอยู่แล้ว (Penetration Rate) เช่น ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ หรือในกลุ่มสินค้าที่ยังมี Penetrated ไม่มากนัก ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญสำหรับการขับเคลื่อนให้ตลาดเติบโตได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น เช่น เครื่องดูดฝุ่น ไมโครเวฟ
ขณะที่การสื่อสารแบรนด์ในภาพรวมยังคงใช้ ชมพู่ อารยา มาเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ให้สินค้าอย่างต่อเนื่อง จากภาพลักษณ์ที่ตอบโจทย์ Brand Image รวมทั้งกลุุ่มเป้าหมายที่เป็นคนรุ่นใหม่ แบบ Working Woman และให้ความสำคัญกับการฉลาดเลือกสินค้าที่ให้ประสบการณ์ที่ตอบไลฟ์สไตล์ได้เหนือกว่า
สำหรับโมเดลใหม่ที่จะส่งมาทำตลาดในปีนี้มีรวม 36 รุ่น ในกลุ่มสินค้าเรืองธง ประกอบด้วย
เครื่องปรับอากาศ 17 รุ่น เน้นนวัตกรรม Wind-Free ที่ให้ความเย็นโดยไม่มีลม ดีต่อสุขภาพของผู้ใช้งานมากขึ้น และนับเป็นครั้งแรกที่มีการนำนวัตกรรมนี้มาใช้กับกลุ่มแอร์บ้าน
ตู้เย็น 6-7 รุ่น นวัตกรรมเด่น Twin Colling Plus ระบบความเย็นอัจฉริยะ 5 แบบ พร้อมแยกระบบทำความเย็นระหว่างช่องแช่แข็ง และช่องเก็บความเย็น พร้อมโหมดเร่งความเย็น Power Freeze / Power Cool เพื่อปรับระดับความเย็นได้ตามต้องการ
เครื่องซักผ้า 12-13 รุ่น พร้อมนวัตกรรม Quick Drive ที่ช่วยให้ซักผ้าได้เร็วขึ้น 50% และช่วยประหยัดพลังงานได้มากขึ้น 20% ตอบโจทย Pain Point ของคนยุคใหม่ที่ต้องการประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย พร้อมทั้งโหมดที่สามารถเติมผ้าเพิ่มเติมได้ในกรณีที่ลืมเสื้อผ้า นับเป็นทางเลือกสำหรับครอบครัว Smart Life ในยุคปัจจุบัน
ในส่วนของเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นเล็กนับเป็นโอกาสที่จะขยายฐานผู้ใช้งานให้เพิ่มมากขึ้น ด้วยการ Educated การใช้งานเพื่อให้ผู้บริโภคมีความเข้าใจและมองเห็น Benefit ของสินค้ามากขึ้น ต่อยอดจากปืทีผ่านมาซึ่งสินค้ากลุ้มนี้เริ่มมีอัตราการเติบโตที่สูงขึ้น และมีโอกาสขยายตัวได้อีกมากเนื่องจากการใช้งานยังไม่มากนักโดยไมโครเวฟมี Penetrated Rate ราว 25% ขณะที่เครื่องดูดฝุ่นยังมีสัดส่วนไม่ถึง 20%
“ในกลุ่มเครื่องซักผ้า ตู้เย็น และเครื่องปรับอากาศ ซัมซุงจะเน้นลูกค้าระดับบนมากขึ้น เพื่อสร้างแรงจูงใจในการซื้อด้วยนวัตกรรมต่างๆ เพื่อเพิ่มทั้ง New Demand และตลาด Replacement ที่มีวงรอบในการเปลี่ยน 5-10 ปี รวมทั้งมองเห็นสัญญาณบวกที่เกิดขึ้น และมีผลต่อการขยายตัวของตลาด เช่น อากาศที่ร้อนขึ้นซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการทำให้ตลาดเครื่องปรับอากาศขยายตัวได้ในระดับสูง รวมทั้งตลาดที่เริ่ม Educated มากขึ้น ทำให้สัดส่วนสินค้าในกลุ่มนวัตกรรมเริ่มขยายตัว เช่น แอร์ในกลุ่ม Inverter ที่มึสัดส่วนในตลาดสูงถึง 40% แล้ว รวมทั้งการเติบโตอย่างโดดเด่นของกลุ่มเครื่องซักผ้าที่เริ่มเห็นการพัฒนานวัตกรรมมากขึ้น ทำให้ปีที่ผ่านมาสามารถโตได้ถึง 11% และเป็นกลุ่มสินค้าที่เติบโตได้ดีที่สุดในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน”
การวางกลยุทธ์ขยายฐานลูกค้าระดับบนช่วยครีเอทให้มีดีมานด์ในตลาดเพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากผู้บริโภคในกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่มองหาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ดีไซน์สวยทันสมัย สามารถส่งเสริมภาพลักษณ์ของผู้ใช้งาน ขณะเดียวกันซัมซุงก็ยังไม่ทิ้งตลาดในกลุ่มแมส เพราะยังมีโอกาสเติบโตได้เช่นกัน ประกอบกับการทำตลาดที่จะเน้นความร่วมมือกับคู่ค้ารีเทลทั้งออฟไลน์และออนไลน์ ผ่านการจัดโปรโมขั่นใน 2 แคมเปญใหญ่ โดยตั้งเป้าว่าจะผลักดันให้ธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านของซัมซุงเติบโตจากปีก่อนหน้าได้ประมาณ 3 เท่าตัว ขณะที่มูลค่าตลาดคาดจะสามารถขยายได้ราว 4-5% จากมูลค่าตลาดรวมในปัจจุบันที่ 52,000 ล้านบาท
ประกาศความพร้อมสู่ IoT แบรนด์แรก
ในงาน CES 2018 ที่ผ่านมา ซัมซุงประกาศวิสัยทัศน์เรื่อง Internet of Things ตอกย้ำถึงพันธกิจในการผลักดันความก้าวหน้าในการส่งมอบประสบการณ์แบบไร้รอยต่อ (Seamless) ผ่านการทำงานของดีไวซ์ต่างๆ บนแพลตฟอร์มระบบคลาวด์ และเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคให้เลือกลงทุนซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าจากซัมซุง เพราะไม่เพียงเฉพาะการมีเทคโนโลยีล้ำสมัยเท่านั้น แต่จะสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้งานได้จริง โดยเชื่อว่าภายในปีหน้าจะเริ่มเห็นพัฒนาการในเรื่องนี้ชัดเจนมากขึ้น จากการขับเคลื่อนกลยุทธ์ One Samsung อย่างจริงจัง
“ซัมซุงเป็นเพียงแบรนด์เดียวที่มีไลนอัพสินค้าครบถ้วนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะมีสมาร์ทโฟนเพื่อเป็นเซ็นเตอร์สำหรับการ Convergence ระบบการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ภายในบ้านเข้าด้วยกัน ซึ่งถือว่ามีความพร้อมอย่างมากแล้วสำหรับ Hard Line โดยโมเดลใหม่ที่แนะนำในปีนี้ จะมีไลน์อัพสินค้าที่พร้อมรองรับระบบ IoT ในกลุ่มเครื่องซักผ้าที่เป็นนวัตกรรม Quick Drive เแต่ในส่วนการเชือ่มต่อเพื่อให้สามารถทำงานได้เต็มรูปแบบ จำเป็นต้องรอความพร้อมทั้งในเรื่องของดีมานด์ลูกค้าที่มีอยู่ในตลาด ประกอบกับการพัฒนาในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ โดยเฉพาะความครอบคลุมการให้บริการอินเตอร์เน็ตจากโอเปอร์เรเตอร์รายต่างๆ ในประเทศด้วย”
อย่างไรก็ดี ในอนาคตอันใกล้นี้สำหรับประเทศไทยมีแผนที่จะเปิดตัวเทคโนโลยี Family Hub ที่เป็นผู้ช่วยอันชาญฉลาดของครอบครัว ในการเชื่อมต่อตู้เย็นกับร้านค้าซูเปอร์มาร์เก็ต เพื่อสั่งสินค้าได้โดยตรง อีกทั้งยังช่วยวางแผนมื้ออาหาร หรือแนะนำเมนูอาหารจากสิ่งที่มีในตู้เย็น เป็นต้น ขณะที่การพัฒนาระบบ Smart Home ในต่างประเทศถือว่ารุดหน้าไปไกลได้จนถึงขั้นของการสั่งงานด้วยเสียงแล้ว