เทรนด์ OTT ที่บริการธุรกิจ VDO แบบ On Demand กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้นแบบไม่ต้องสงสัย ด้วยตัวเลขผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือที่ปัจจุบัน และใช้เวลามากกว่า 4.5 ชั่วโมงไปกับการเสพคอนเทนต์ในรูปแบบวิดีโอบนโลกออนไลน์ตามความชอบของแต่ละคน แทนความบันเทิงที่ส่งผ่านมายังหน้าจอโทรทัศน์ ในปี 2017 ที่ผ่านมา ธุรกิจสตรีมมิ่งยักษ์ใหญ่ระดับโลกรุกเข้ามาทำตลาดในประเทศไทย ทั้งการเปิดตัว หรือการทำคอนเทนท์ในรูปแบบภาษาไทยอย่างเต็มรูปแบบ ท่ามกลางการแข่งขันที่สูงขึ้นในตลาดที่กำลังเติบโต Viu ผู้ให้บริการคอนเทนท์ที่เน้นความบันเทิงสายพันธุ์เอเชีย ก็เป็นอีกหนึ่งในผู้เล่นที่มองเห็นโอกาสในประเทศไทย และนี่คือกลยุทธ์การเข้าถึงผู้ชมคนไทย ที่งานนี้โจทย์ใหญ่อยู่ที่ทำอย่างไรให้เขาเหล่านั้นรับชมคอนเทนท์ลิขสิทธิ์ให้ได้
“เว็บเถื่อน” คู่ต่อสู้ตัวจริง Viu แก้เกมด้วยโมเดล “ดูฟรี”
สำหรับแฟนซีรีส์เกาหลี ที่เดิมอาจอาจมีช่องทางจำกัดในการรับชม ถึงจะตามติดดาราหรือรับทราบข่าวสารแต่ก็ไม่สามารถหาหนทางรับชมได้เต็มอรรรส แล้วต้องอาศัยกูรู ที่รู้ภาษาเกาหลี หรือแปลซับ-ไตเติ้ลจากภาษาอังกฤษอีกทอดหนึ่งผ่านทางเว็บไซต์เถื่อน หรือ ดีวีดี ปัจจุบัน Viu สตรีมมิ่งที่ก่อตั้งขึ้นในฮ่องกง แต่มีความเข้าใจอันดีว่ากระแส K-Wave แผ่กระจาย ขยายความนิยมไปทั่วเอเชีย เล็งเห็นช่องว่างดังกลาว จึงขอเป็นทางเลือกให้กับผู้ชม ในลักษณะแอปพลิเคชั่นที่เปลี่ยนพฤติกรรมคนจาก “ทางเลือก” ให้กลายเป็น “ทางหลักในการรับชมคอนเทนต์บันเทิงเกาหลี” แบบถูกลิขสิทธิ์ แถมมี Business Model ที่ออกแบบมาจากอินไซต์ของคนเอเชีย ทำให้สามารถ “ดูฟรี” หรือจะเสียเงิน ก็ได้
คุณธวัตวงศ์ ศิลมานนท์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท พีซีซีดับเบิลยู โอทีที (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “กระแสเกาหลีแม้จะเกิดขึ้นมานาน แต่การตอบรับไม่ได้ลดลง ยังคงมีแฟนๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะแฟนซีรีส์และรายการวาไรตี้ ที่ยังมีการติดตามอย่างเหนียวแน่น นี่เป็นโอกาสทางธุรกิจที่ยังไม่มี OTT รายไหนจับจองพื้นที่นี้อย่างชัดเจน”
แอปพลิเคชั่น Viu สร้างสรรค์และพัฒนาขึ้นสำหรับคอคอนเทนต์เอเชีย โดยเฉพาะเกาหลี ที่เป็นสัดส่วนใหญ่สุด โดยรูปแบบธุรกิจของ Viu แตกต่างจาก OTT อื่นๆ ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายรายเดือนถึงจะรับชมได้ แต่ Viu มีทั้งเปิดให้สมาชิกรับชมฟรี แต่แลกกับการที่ต้องรับชมโฆษณา ซึ่งนี่คือแหล่งรายได้ของ Viu ในอีกทางหนึ่งนอกเหนือจาก สมาชิกแบบ Premium ที่มีค่าใช้จ่ายหลักร้อยนิดๆ ต่อเดือน แต่แลกมากับความรวดเร็วและคมชัดในการรับชมคอนเทนต์ บางรายการมีซับไทยพร้อมชมหลังออกอากาศในเกาหลี 1 ชั่วโมง แถมในระยะหลังปรับปรุงการแปลให้เข้าถึงผู้ชมมากขึ้น
หลังจากที่ Viu ได้เปิดให้บริการความบันเทิงและรายการฮิตทั่วเอเชียให้กับแฟนชาวไทยได้รับชมกันตั้งแต่ช่วงกลางปีที่ผ่านมา ผู้ชมชาวไทยได้ให้การตอบรับอย่างล้นหลามจนส่งผลให้ Viu เติบโตอย่างแข็งแกร่งมากขึ้นทั้งในแง่ของแบรนด์ และจำนวนผู้ชม มียอดดาวน์โหลดแอปฯแล้วมากกว่า 1.5 ล้านครั้ง ซึ่งบางข้อมูลที่ได้รับรู้ก็สร้างความเซอร์ไพรส์ เพราะสถิติการรับชมคอนเทนต์บนหน้าจอ Viu ของคนไทยสูงกว่าค่าเฉลี่ยในภูมิภาค
จากการสำรวจของ Viu จำนวนวิดีโอเฉลี่ยที่ชมต่อคนในหนึ่งสัปดาห์อยู่ที่ ช่วงเวลาที่มีผู้ใช้บริการเฉลี่ยเริ่มตั้งแต่ 8.00 น. ซึ่งเป็นการรับชมระหว่างการเดินทาง โดยใช้อินเทอร์เน็ตจากอุปกรณ์พกพา ช่วงเวลารับชมสูงสุดอีกช่วงคือเที่ยงวัน โดยใช้อินเทอร์เน็ตจากอุปกรณ์พกพาและบรอดแบนด์ ช่วงเวลารับชมสูงสุดของวันคือ 19:00 – 23:00 น. โดยใช้บรอดแบนด์ในที่พักอาศัย แหม…คนไทยนี่เสพความบันเทิงกันทุกเวลาจริงๆ
4 กลยุทธ์เข้าถึงคนไทย
ความสำเร็จในการนำคอนเทนต์เอเชียครองใจแฟนได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว เกิดจากแนวทางการทำธุรกิจและกลยุทธ์การตลาด ประกอบด้วย
1. Variety of Contents – Viu นับเป็นคลังคอนเทนต์ของบันเทิงเอเชียที่รวมความหลากหลายเอาไว้ ครอบคลุมทั้งซีรีส์ วาไรตี้ ไลฟ์สไตล์ ดนตรี และภาพยนตร์ จากหลากหลายประเทศในเอเชีย โดยในประเทศไทย ได้นำคอนเทนต์จากเกาหลี ญี่ปุ่น ฮ่องกง มาให้บริการ ซึ่ง Viu รวบรวมมาให้หมดครบทุกคอนเทนต์ความบันเทิง ทั้งซีรีส์หรือรายการใหม่ๆ ซีรีส์ดังต่อเนื่องข้ามปีที่ยังได้รับความนิยมไม่เสื่อมคลาย และคอนเทนต์ที่ทาง Viu ผลิตขึ้นเองในชื่อ Viu Original
2. Partnership – Viu มีความสัมพันธ์อันดีกับผู้ผลิตคอนเทนต์ โดยผนึกความร่วมมือกับพันธมิตรจากหลากหลายประเทศทั่วเอเชียจากช่อง KBS SBS MBC จากเกาหลี Fuji TV จากประเทศญี่ปุ่นและอื่น ๆ เพื่อนำคอนเทนต์ความบันเทิงและรายการฮิตทั่วเอเชียแบบถูกลิขสิทธิ์ใหม่ล่าสุด มานำเสนอให้กับคนไทยได้รับชมในรูปแบบ Simulcast หรือการออกอากาศแบบคู่ขนาน พร้อมซับไทยคุณภาพรวดเร็วพร้อมให้รับชมได้ภายในวันถัดไปหลังออกอากาศจากประเทศต้นทาง และ tvN Movies คลังภาพยนตร์ครบรสมาให้คนไทยได้ชมถึง 90 เรื่องซึ่งมากที่สุดในประเทศ ในรูปแบบ SVOD (Subscription Video On Demand) สำหรับสมาชิก Viu Premium เท่านั้น
3. Customization –Viu ได้ร่วมมือกับ AIS ในการออกแบบแพ็กเกจสำหรับสมาชิก Viu Premium เพื่อตอบโจทย์ความต้องการและพฤติกรรมการบริโภคคอนเทนต์ที่แตกต่างกันออกไปของแต่ละคน
– กลุ่ม Heavy Users ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มหลักในการบริโภคคอนเทนต์ที่สม่ำเสมอและต่อเนื่องตลอดทั้งสัปดาห์ มีช่วง Multi-Peak Periods ที่หลากหลาย เพราะพฤติกรรมส่วนใหญ่รับชมผ่านจอ
สมาร์ตโฟน และแท็บเล็ต ซึ่งสะดวกต่อการรับชมได้ทุกที่ โดยแพ็กเกจที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มนี้ต้องไม่จำกัดการใช้งานอินเทอร์เน็ต และต้องไม่กระทบกับแพ็กเกจอินเทอร์เน็ตหลัก จึงเป็นที่มาของ แพ็กเกจเหมา เหมา Viu Net Non-stop 299 บ. อินเทอร์เน็ตไม่จำกัดสำหรับดู Viu Premium
-กลุ่ม Selective Users เป็นกลุ่มที่มีความชื่นชอบในคอนเทนต์บันเทิงเอเชียอยู่แล้ว แต่ติดตามเพียงบางรายการหรือบางวัน หรืออยากติดตามเฉพาะดารา ไอดอลที่ชอบ และไม่อยากเสียค่าใช้จ่าย
ในรูปแบบรายเดือน แต่หากมีคอนเทนต์ที่สนใจก็ไม่อยากรอถึง 3 วันเพื่อจะได้ดู แพ็กเกจที่เหมาะกับพฤติกรรมกลุ่มนี้ ได้แก่ แพ็กเกจสุดคุ้มเหมา เหมา Viu Net Non-Stop รายวัน เพิ่มแค่ 4 บาทจากแพ็กเกจเหมา เหมาปกติของ AIS โดยเริ่มต้นแค่ 19 บาท ดู Viu Premium ได้บนเน็ตความเร็วสูงไม่อั้น อยากดูวันไหน จ่ายวันนั้น
-กลุ่ม Potential Premium Users ที่เคยรับชมคอนเทนต์บันเทิงเอเชียทาง Viu แบบฟรี และมีความประทับใจในคุณภาพของคอนเทนต์ ทั้งความคมชัด และอรรถรสในการรับชมจากซับไทย ให้ได้ลองบริการแบบ Viu Premium ได้ฟรีเป็นเวลา 3 เดือน ได้แก่ Zeed Sim ซึ่งเหมาะกับกลุ่มวัยรุ่นที่ใช้ Social media เล่นเกมออนไลน์ Super Play Sim ซึ่งเหมาะกับกลุ่มที่เน้นบริโภคความบันเทิงออนไลน์ และ Freedom Unlimited Sim ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใช้เน็ตและโทรศัพท์มาก
4. Sponsorship – แนวทางการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของ Viu เพื่อสร้างให้เกิด Brand Love ขึ้นกับกลุ่มเป้าหมาย ด้วยการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของคอมมูนิตี้ ผ่านการมอบประสบการณ์ที่สุดแห่ง Asian Entertainment โดยในปีที่ผ่านมา Viu ได้สร้าง Engagement ให้เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมาย ผ่านการสนับสนุนกิจกรรมของบรรดาศิลปิน K-Pop ที่กำลังมาแรงที่สุดในปี 2017 อาทิ Wanna One กับงาน Wanna One 1st Fan Meeting in Bangkok ในการพบปะกับแฟนๆ ชาวไทยเป็นครั้งแรก และกิจกรรมแฟนมีตติ้งครั้งแรกในเมืองไทยของ พัคฮยองซิก ในงาน 2017 Park Hyung Sik First Love in Bangkok
ใช้ประโยชน์ของ Social Media ทั้งสื่อสารทั้งรับฟัง
นอกเหนือจากแผนการตลาดที่กล่าวมาแล้ว Viu ใช้ช่องทางออนไลน์ในการสื่อสารและเป็นพื้นที่ที่รับฟังแฟนตัวจริง ซึ่ง คุณธวัตวงศ์ กล่าวติดตลกว่า “บางครั้งแฟนๆ รู้จักซีรี่ส์ก็เป็นฝ่ายแนะนำเรา เอาเรื่องนั้นเรื่องนี้เข้ามาสิ และเป็นคนที่บอกเทรนด์ความต้องการกับเราได้แม่นกว่าเราอีก บางเรื่องเรตติ้งดีที่เกาหลีหรือประเทศอื่น แต่พอนำเข้ามาในประเทศไทยกลับไม่เปรี้ยงขนาดนั้น แต่เรื่องไหนที่แฟนๆ บอก แฟนๆ รอ พอเราทำเป็นซับภาษาไทย ดังตลอด” ดังนั้นหลายครั้ง Viu จึงสื่อสารและพูดคุยกับแฟนซีรี่ย์อยู่ตลอดทั้งช่องทางโซเชี่ยลมีเดียของตัวเอง รวมทั้งพันธมิตร เว็บไซต์คอมมูนิตี้ที่ถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อพูดคุยกันเรื่องนี้โดยเฉพาะ รวมทั้งเป็นพันธมิตรด้านคอนเทนท์ให้กับ Pantip.com ห้อง “กรุงโซล” เพื่อเป็นช่องทางให้ Viu ได้มีพื้นที่พูดคุยกับแฟนๆ
ถึงแม้ว่าการแข่งขันในแง่ธุรกิจ OTT ในปัจจุบันค่อนข้างรุนแรง ทั้ง Netflix และ iFlix ต่างเร่งพัฒนาคอนเทนต์และโปรโมทอย่างหนักหน่วง แต่คุณธวัตวงศ์ มั่นใจในทิศทางที่เขาได้กำหนดให้ Viu ว่าจะสามารถฝ่ากระแส และขึ้นมาเป็นตัวเลือกลำดับแรกของกลุ่มแฟนคอนเทนต์เอเชียได้อย่างสำเร็จ เพราะเขาเชื่อว่าผู้ให้บริการสตรีมมิ่งแต่ละรายก็มีจุดแข็งของตัวเอง บ้างก็ใช้วิธีครีเอท Original Content ขึ้นมาเอง บ้างก็ใช้แนวทางในการสรรหาคอนเทนท์จากฮอลลีวู้ด สำหรับ Viu ขอประกาศชัดๆ เซกเมนท์ “คอนเทนท์เอเชีย ต้อง Viu” เท่านั้น