Homeไม่มีหมวดหมู่ใส่ ‘ดีไซน์’ อย่างไรให้งานปัง ฟังกลยุทธ์โต้คลื่นลม Red Ocean จาก 2 กูรูสาวตัวแม่ SME

ใส่ ‘ดีไซน์’ อย่างไรให้งานปัง ฟังกลยุทธ์โต้คลื่นลม Red Ocean จาก 2 กูรูสาวตัวแม่ SME

แชร์ :

[Advertorial]

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

การทำธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงมากๆ เราเรียกโดยรวมว่า Red Ocean ซึ่งปัญหาของการทำธุรกิจ Red Ocean คือ เมื่อธุรกิจนั้นๆ มุ่งจะเอาชนะคู่แข่ง ด้วยการสังเกตว่าคู่แข่งออกสินค้าหรือบริการอะไรบ้าง แล้วก็จะพยายามทำให้คล้ายๆ กันออกมา ดังนั้น สินค้าและบริการใหม่ๆ ที่ออกมาส่วนใหญ่ก็จะมีความเหมือนกันและเป็นลักษณะที่ทำตามๆ กันออกมา สุดท้ายแล้วสินค้าหรือบริการนั้นก็จะหาความแตกต่างไม่ได้ และก็นำไปสู่การแข่งกันที่ราคาตัดราคากันเองมากกว่า ซึ่งในที่สุดก็ไม่มีใครได้ประโยชน์และจะไม่เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ เราเริ่มเห็นภาพการแข่งขันนี้มากขึ้นในธุรกิจไทย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการ SME ซึ่งด้วยความที่ธุรกิจไม่ใหญ่มากจึงมักใช้ความรู้สึกหรือเหตุผลส่วนตัวในการตัดสินใจมากกว่า ซึ่งบ้างก็ประสบความสำเร็จบ้างก็ไปไม่ไกล

 

ดังนั้น เรามีกรณีศึกษาที่น่าสนใจของผู้ประกอบการ SME ที่เอาชนะการแข่งขันบน Red Ocean ได้สำเร็จ ผ่านการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ใส่ดีไซน์ลงในโปรดักส์จนได้รับความนิยมจากลูกค้า ผลักดันให้โปรดักส์โดดเด่นเหนือคู่แข่งและก้าวขึ้นมาอยู่แถวหน้า ได้แก่ คุณกิ๊ฟ-แคทลียา ท้วมประถม กรรมการผู้จัดการ Idealounge Group และคุณนดา-วิริยา ท้วมประถม กรรมการผู้จัดการ Idealounge Group สองสาวกูรูด้านค้าปลีก-ส่ง นักธุรกิจแถวหน้าในแหล่งค้าสำคัญย่านสำเพ็ง ซึ่งทั้งสองสาวจะมาเผยถึงเคล็ดลับการใส่ไอเดียอย่างไรที่จะทำให้สินค้าโดดเด่นเหนือคู่แข่ง

สำเพ็ง พาหุรัด Red Ocean ตั้งแต่อดีตกาล

คุณกิ๊ฟ เกริ่นให้ฟังเบื้องต้นก่อนว่า ก่อนที่จะมาบริหารเองธุรกิจที่ทำอยู่คือการ์ดแต่งงานและของชำร่วย เป็นธุรกิจที่สืบทอดกิจการมาตั้งแต่รุ่นคุณย่า คุณพ่อ ก่อนที่จะมาถึงตัวเองและน้องสาว (คุณนดา) ซึ่งค้าขายกันในย่านสำเพ็ง พาหุรัด แหล่งค้าปลีกและส่งเก่าแก่ของไทย ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะค้าขายอะไรเหมือนๆ กัน แม้แต่ชื่อร้านยังคล้ายกันเลย เสน่ห์อย่างหนึ่งของสำเพ็ง พาหุรัด ก็คือ ส่วนใหญ่จะเป็นญาติกันหมด ดังนั้น ความสัมพันธ์ของคนในย่านนี้ก็คือ เป็นญาติกันในขณะเดียวกันก็เป็นคู่แข่งกันด้วย

“คุณพ่อเคยบอกเอาไว้ว่า ที่นี่หยิบจับอะไรก็ขายได้แค่พลิกมุมขายนิดหน่อยก็ได้แล้ว นั่นคือในอดีต ที่เมื่อก่อนคำว่า ‘แหล่งค้า’ มีความสำคัญมาก”

ด้าน คุณนดา เสริมว่า เมื่อก่อนที่เราหมายถึงมันคือเมื่อ 60-80 ปีที่แล้ว ที่คำว่า ย่าน แหล่งค้า สมัยนั้นมีความสำคัญมาก มันจึงถูกเรียกว่า ‘ทำเลทอง’ อย่างสมัยที่คุณแม่พวกเราเปิดร้านก็เหมือนกันขายของคล้ายๆ กับญาติ แต่ก็ยังต้องแตกไลน์พลิกมุมขายให้ได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองที่หล่อหลอมให้เราเป็นคนไม่หยุดนิ่งกับกรอบเดิม จะต้องลุกขึ้นมาคิดอะไรที่แตกต่างในธุรกิจเสมอ

สร้างแวลูเพิ่มให้โปรดักส์ด้วยไอเดียที่สร้างสรรค์

คุณกิ๊ฟ เล่าถึงธุรกิจที่บ้านว่า หลังเรียนจบปริญญาโท เราก็รู้สึกมีไฟ อยากจะมาปรับเปลี่ยนโน่นนี่ธุรกิจที่บ้าน แต่ด้วยความที่มีนิสัยเป็นผู้นำเหมือนคุณพ่อก็ต้องรับมือกับการที่คุณพ่อไม่ค่อยยอมรับในสิ่งใหม่ๆ ดังนั้น เราจึงเริ่มจากการปรับเปลี่ยนจากสิ่งเล็กๆ ก่อน อย่างรูปแบบเดิมของการ์ดแต่งงานในอดีตจะมีแต่หงส์คู่มังกร สีแดงสีทอง เป็นส่วนมาก ซึ่งก็ขายกันแบบนี้มานานและขายกันแทบจะทุกร้าน ดังนั้น เราก็เกิดความคิดใหม่ว่า ทำไมไม่ดีไซน์ให้มันทันสมัยขึ้น ก็เลยออกแบบการ์ดและของชำร่วยใหม่ด้วยตัวเอง

“หงส์มังกร แดงทอง ราคา 15 บาท เราเห็นเองก็ยังเบื่อเลย ไม่ชอบเลย เราก็เลยปรับเปลี่ยนให้เป็นงานดีไซน์ในแบบที่ตัวเองชอบ บางการ์ดออกแบบมาสวยมาก เราก็ตั้งราคาไปเลย 200 บาท ตอนแรกคุณพ่อก็ไม่เห็นด้วย แต่เราเห็นว่านี่มันคืองานดีไซน์ ไปร้านไหนก็ไม่มี ดังนั้น มันจึงสามารถเพิ่มมูลค่าได้ด้วยตัวมันเอง จึงเห็นว่าการออกแบบที่แตกต่างช่วยเพิ่มแวลูให้สินค้าได้ เพียงแค่เรามีไอเดียดีๆ”

หรืออย่างของชำร่วยบางอย่าง เราแค่พลิกมุมไอเดียนิดเดียว ของชิ้นเดียวกันแต่สามารถขายได้ถึง 3 แบบ เช่น ติดริบบิ้นดำกลายเป็นของสำหรับงานศพ ติดริบบิ้นสีชมพูกลายเป็นงานแต่ง หรือปรับด้วยการใส่แพ็กเกจสวยๆ กลายเป็นงานพรีเมียมขึ้นมาแล้ว

ไอเดียบวกเทรนด์ พัฒนาธุรกิจยั่งยืน

เคล็ดลับนึงที่คุณกิ๊ฟ เล่าว่า สามารถดึงศักยภาพธุรกิจเก่าแก่ของที่บ้านที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงอะไรเลย มาปรับให้กลายเป็นงานใหม่ที่สร้างสรรค์ได้ ก็คือ การผสมผสานและใส่แพสชั่นของตัวเองลงไป

คุณกิ๊ฟ ย้ำว่า เราเอางานดีไซน์ที่เราชอบมาบวกกับเทรนด์ของธุรกิจที่น่าจะไป บางคนจะคิดว่าการทำธุรกิจแบบสืบทอดคือการต้องคงไว้ซึ่งธุรกิจในแบบที่พ่อแม่ทำอยู่ ซึ่งกิ๊ฟรู้สึกว่ามันจริงในระดับหนึ่งแต่ว่า ในยุคนี้เป็นยุคของดิจิทัลเทคโนโลยี ซึ่งเราควรจะมองหาน่านน้ำใหม่ๆ เป็นน่านน้ำที่ใสสว่างอยู่ เพราะในย่านนั้นอย่าลืมว่า สินค้าส่วนใหญ่คล้ายๆ กันหมด การที่เราจะเปิดอะไรที่คล้ายๆ กันอีกทำไม่ได้แบบสมัยก่อนแล้ว

“อย่างเมื่อก่อนที่เคยบอกว่าแค่ขายน้ำก็รวยหรือขายอะไรก็รวย แต่ยุคนี้มันเป็นยุคที่คำว่า ‘แหล่ง’ ไม่มีประโยชน์อีกต่อไปแล้ว เพราะคนหาสินค้าที่ต้องการได้จาก Facebook หรือ Instagram หรือในเน็ต กันแล้ว ดังนั้น เราจะต้องทำอย่างไรดีที่ทำให้การเป็นแหล่งของเรา ยังเป็นข้อได้เปรียบอยู่ และยังอยู่ในน่านน้ำเดิมแล้วก็ยังมีน่านน้ำใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมาได้ด้วย”

ไม่ใช่คิดว่าเราทำธุรกิจนี้แล้วต้องทำต่อไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นอะไรที่เป็นช่องทางหรือการทำธุรกิจใหม่ๆ เราก็ต้องไปลองทำธุรกิจใหม่ๆ ได้ อย่างการ์ดแต่งงานในบ้านเราก็เริ่มเต็มแล้ว ดังนั้น เราควรต้องไปหาน่านน้ำอื่นไหม ไปหาที่ตลาดที่กำลังตามเมืองไทยอยู่ เช่น พม่า ลาว เป็นต้น เพราะฉะนั้น สิ่งสำคัญของคนที่เป็นนักธุรกิจที่ดี ควรจะต้องทำตัวเป็น ‘โหลน้ำที่ไม่เต็ม’ คือใส่หินก็ได้ ใส่น้ำก็ได้ ใส่ทรายก็ได้ และที่สำคัญคืออย่าลืมใส่ไอเดียที่สร้างสรรค์ลงไปจะทำให้ธุรกิจยั่งยืนและไม่ตกเทรนด์

+

ปลดล็อคตัวเองจากคอมฟอร์ทโซน

ด้านคุณนดา ให้เคล็ดลับเพิ่มเติมที่สำคัญในยุค 4.0 ว่า ต้องยอมรับว่าคนที่ค้าขายที่ สำเพ็ง พาหุรัด ค่อนข้างทำธุรกิจในเชิงรับมากเกินไป เหมือนกับว่าอยู่ใน Comfort zone มาโดยตลอด แต่ยุคนี้มันไม่ได้แล้ว เพราะฉะนั้นต้องปรับตัวเองในเชิงรุกมากขึ้น สิ่งที่สำคัญคือเราต้องพิจารณา Customer Journey ให้มากขึ้น เราจะมานั่งรอให้ลูกค้าวิ่งมาหาเราที่หน้าร้านไม่ได้แล้ว ดังนั้น นอกจากเรื่องการใส่ไอเดียลงในผลิตภัณฑ์แล้ว อีกอย่างที่สำคัญคือ การใช้ช่องทางโซเชียลมีเดียและช่องทางออนไลน์ในการเข้าถึงลูกค้าให้มากขึ้น

“ตอนนี้ลูกค้าช้อปปิ้งตรงไหนก็ได้ ไม่เดินแล้ว ช้อปปิ้งกันบนเตียงก็ได้ หรือช้อปปิ้งแม้กระทั่งเวลาทำงาน ดังนั้น เราจะทำอย่างไรให้มันอยู่ในใจเขาได้ เราก็ต้องใช้ความได้เปรียบของการที่จะมีหน้าร้าน เพราะลูกค้าก็สอบถามตลอดเวลาว่า คุณมีหน้าร้านไหม ความน่าเชื่อถือตรงนั้น มันยังเป็นความได้เปรียบอยู่ ก็เลยจะต้องมีวิธีการที่จะต้องปรับเปลี่ยนไปให้เข้ากับยุคด้วย”

การเพิ่มเติมความรู้กูรูผู้เชี่ยวชาญ

แต่การที่จะมีองค์ประกอบของการเป็นนักธุรกิจที่ดีได้ ไม่ว่าจะเป็นการปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยี หรือการมีไอเดียสร้างสรรค์ ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย คุณนดา จึงแนะนำว่า การหาความรู้เพิ่มเติมจะช่วยได้เยอะในการทำธุรกิจ ซึ่งตอนนี้ก็มีสัมมนาดีๆ เกี่ยวกับธุรกิจ SME หรือการตลาดมากมาย แต่ในอีกทางหนึ่งก็เห็นว่าเวลาไปฟังสัมมนา ก็อาจจะพบแต่ทางออกทั่วๆ ไปในมุมกว้างๆ ซึ่งอาจจะเจาะลึกไม่พอ หรือสปีกเกอร์บนเวทีก็อาจจะมีเวลาไม่พอที่จะมาตอบคำถามเรา แต่ถ้าเข้ามาหาความรู้ที่ SCB Business Center ซึ่งตอนนี้มีเปิดแล้วที่สำเพ็ง และเน้นเจาะลึกให้กับผู้ประกอบการ SME โดยเฉพาะ จะทำให้คุณได้อะไรที่ลึกซึ้งมากกว่า และที่สำคัญมี Mentor คอยพร้อมให้คำปรึกษาแบบตัวต่อต่ออีกด้วย

คุณกิ๊ฟ เสริมว่า แค่ก้าวเข้ามาเท่านั้น อย่าเพิ่งไปคิดว่าก้าวมาแล้วเขาจะต้อนรับไหม มันจะเครียดไหม เราอยากให้ลองเข้ามาก่อน เพราะตรงนี้จะมีเพื่อนที่ดีที่ผ่านประสบการณ์จริงมาแล้ว พร้อมจะเข้ามาช่วยคุณ ด้วยแนวไอเดียใหม่ๆ ความรู้ใหม่ๆ ที่จะเปลี่ยนรายได้คุณเป็นอีกหลักหนึ่งได้เลย อย่ามัวแค่ติดกับแค่ 10 ล้าน 100 ล้าน คุณสามารถรวยเป็น 1,000 ล้านได้ มันจะช่วยให้ธุรกิจของคุณมั่นคงได้จริง

“ดังนั้น สิ่งเดียวเลยที่คุณต้องมีอันดับแรกคือ ‘ทัศนคติ’ คุณต้องมีทัศนคติที่ดีในการเปิดรับสิ่งใหม่ๆ ไอเดียใหม่ๆ และกล้าที่จะลงมือ ขอแค่คุณพลิกความรู้สึกตรงนั้นให้ได้ และที่สำคัญ Business Center ตรงนี้ คือแหล่งรวมของคนที่มีพลังบวกในการทำธุรกิจซึ่งสำคัญมาก คือนอกจากเราเข้ามารับคำแนะนำดีแล้ว ก็อาจจะได้รวมกลุ่มเป็นคอมมูนิตี้ของคนที่ทำธุรกิจแบบเดียวกัน ของคนที่อยากจะก้าวไปไกลๆ ด้วยกันเพราะฉะนั้น คิดว่าเข้ามาเถอะค่ะ”

สำหรับการติดต่อกับ SCB BUSINESS CENTER ทำได้ดังนี้

สามารถนัดหมายล่าวงหน้าได้ทางลิงก์นี้

https://businesscenter.scb.co.th/th/

SCB BUSINESS CENTER : Central World

https://my.matterport.com/show/?m=42zHFE9vJ1R

SCB BUSINESS CENTER : Siam Square

https://my.matterport.com/show/?m=rxgpoc3ar5F

SCB BUSINESS CENTER : Central Eastville

https://my.matterport.com/show/?m=sTXxkUCTcqs

การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยาก ที่จะแสวงหาความรู้เพิ่มเติม เพราะทุกคนตระหนักดีกว่าการผลักดันเศรษฐกิจให้มั่นคงก้าวไกลไม่สามารถดำเนินการได้โดยลำพัง แต่ต้องรันกันไปพร้อมทั้งอีโคซิสเท็ม ดังนั้น อยู่ที่ผู้ประกอบการแล้วว่าจะตัดสินใจเพิ่มเติมความรู้หรือไม่ เมื่อทุกๆ ฝ่ายพร้อมที่จะยื่นมือเข้าช่วยแล้ว

[Advertorial]


แชร์ :

You may also like