“ขอ 3 คำ สำหรับ…” กลายเป็นประโยคฮิตที่ปรากฏในโลกไซเบอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเว็บไซต์ที่มีพื้นที่เว็บบอร์ดให้ผู้เล่นได้แสดงความคิดเห็นอย่างเกปิดกว้าง เช่น ขอ 3 คำให้ดาราในภาพนี้, ขอ 3 คำให้… แน่นอนว่ากระแสขอ 3 คำ มาจากรายการ VRZO รายการที่สำรวจความคิดเห็นของคนที่ดูดี 100 คน ในเรื่องราวใกล้ตัว และหลังจากนั้นก็ขอความ 3 คำ สำหรับเรื่องนั้นๆ จนตอนนี้ ขอ 3 คำ กลายเป็นเว็บไซต์ หน้าแฟนเพ็จ ซึ่งเรื่องนี้ ปลื้ม-สุรบท หลีกภัยก็บอกว่า เขาไม่ใช่คนคิดคนแรก แต่มีคนเล่น “ขอ 3 คำ” มาก่อนหน้าเขาแล้ว แต่เป็น 3 คำจริงๆ ไม่ใช่ 3 พยางค์ อย่างที่รายการ VRZO ทำ
BrandBuffet ขอเจาะลึกถึงเรื่อง ขอ 3 คำ ทั้งในเรื่องของธรรมชาติมนุษย์และประวัติศาสตร์มานำเสนอ เลข “3” ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นกลไกการทำงานของสมองมนุษย์ที่เชื่อว่าเราจะจำได้ดีที่สุด แค่ 3 เรื่องเท่านั้น เรื่องนี้ไม่ใช่แค่การทดลองทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่ยังมีความเชื่อของชาวตะวันตกว่าเลข 3 เป็นเมจิคนัมเบอร์ จนเป็นที่มาของวลีในภาษาละตินที่ว่า “omne trrium perfectum” หรือ ทุกอย่างที่อยู่ภายในเลข 3 เพอร์เฟคเสมอ นิทานหรือว่าตำนานหลายเรื่อง เช่น ลูกหมู 3 ตัว, 3 ทหารเสือ ก็มีตัวละครเอกอยู่แค่ 3 ตัวเท่านั้น
จากเว็บไซต์ copyblogger.com ระบุว่า การใช้กฎ Rule of Three เพื่อทำให้เกิดคอนเทนต์ที่มีส่วนร่วม ประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบ
1. ต้องมี Storytelling มีเรื่องราว
2.Sticky Ideas งกไอเดียเข้าไว้ แล้วเลือกเฉพาะที่เด็ดจริงๆ
3.ต้องแสดงให้เห็นถึงประเด็นที่จะนำเสนออย่างชัดเจน ดังที่เราเห็นจาก วรรคทองของโลกหลายคำก็มีแค่ 3 ไอเดียเท่านั้น เช่น “Government of the people, by the people, for the people” รัฐบาล(ประชาธิปไตย)ของประชาชน, โดยประชาชน และเพื่อประชาชน 3.Humor
ผู้อ่านล่ะว่ายังไง ชอบหรือไม่ชอบ ขอ 3 คำ ให้ Rule of Three
ขอ 3 คำ ใน VRZO