โครงการ Blogger’s Bootcamp by CP All ปีที่ 2 บล็อกกาภิวัตน์ อย่าให้อนาคต Disrupt เรา กับการตอบรับเป็นอย่างดีจากบล็อกเกอร์ผู้เข้าร่วมงานทั้ง 60 คนที่ได้เข้าร่วมเวิร์คช็อปลงมือปฎิบัติงานจริงผ่านโจทย์ที่ได้รับ พร้อมทั้งความรู้จากประสบการณ์จริง โดยวิทยากรผู้มากประสบการณ์ทั้ง 7 ท่านที่ได้เข้าร่วมให้ความรู้ตลอดระยะเวลา 3 สัปดาห์ อาทิ
คุณเอม นภพัฒน์จักษ์ อัตตนนท์ บรรณาธิการข่าวออนไลน์ จาก Workpoint, คุณเอ็ม ขจร เจียรนัยพานิช จาก MangoZero วิทยากร, คุณท้อฟฟี่ ชญาน์ทัต วงศ์มณี นักเขียนและนักสัมภาษณ์ จาก เพจท้อฟฟี่ แบรดชอว์ เป็นต้น โดยมีการสรุปบทเรียนจากวิทยากรทั้ง 7 ดังนี้
“Facebook จะยังคงลด Reach ลงอย่างต่อเนื่อง โดยวิธีแก้ปัญหาทางหนึ่งก็คือ ให้ลองขยายช่องทางไปใช้ Twitter ซึ่งปีที่แล้วก็มียอดผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นทั้งในไทยและทั่วโลก หรือ LINE เองก็เป็นช่องทางทำคอนเทนต์อีกทางที่น่าสนใจ ช่วยดึงคนให้เกิดความสนใจเพิ่มมากขึ้น ส่วน YouTube ก็เป็นอีกช่องทางที่ทำรายได้สำหรับกลุ่มบล็อกเกอร์ด้วยเช่นเดียวกัน แต่ถ้าหากยังไม่สามารถขยายไปช่องทางอื่นนอกจาก Facebook ควรทดลองการสร้าง Facebook Group เพราะยังไม่ลด Reach มากนักอีกทั้งยังสามารถสร้าง Community ให้เพจได้ด้วยอีกด้วย” กล่าวโดย คุณเอ็ม ขจร เจียรนัยพานิช จาก MangoZero วิทยากรผู้บรรยายในสัปดาห์ที่ 1 ในหัวข้อ “อิทธิ Reach! เมื่ออิทธิฤทธิ์ของ Reach ลดลง บล็อกเกอร์จะปรับตัวยังไง?” พร้อมกล่าวทิ้งท้ายว่า “การเลือกทำคอนเทนต์ที่มีประโยชน์ต่อผู้อ่าน ถือเป็นสิ่งสำคัญที่บล็อกเกอร์จำเป็นต้องยึดไว้เป็นสิ่งสำคัญ”
ทางด้านคุณท้อฟฟี่ ชญาน์ทัต วงศ์มณี หรือ คุณท้อฟฟี่ แบรดชอว์ นักเขียนและนักสัมภาษณ์ จาก เพจท้อฟฟี่ แบรดชอว์ และ The Standard วิทยากรผู้บรรยายในสัปดาห์ที่ 1 ภายใต้หัวข้อ “มีแบรนด์อยู่ ก็สนุกได้ ทำคอนเทนต์พ่วงแบรนด์อย่างไรให้จริงใจและคุณภาพถูกใจเรา” ได้ให้ความรู้กับกลุ่มบล็อกเกอร์ผู้ร่วมงานโดยสรุปว่า “ สำหรับบล็อกเกอร์ หรือคนทำคอนเทนต์นั้น ควรจะเริ่มลองหันมามองว่าคอนเทนต์ของเราทำให้เกิดอะไรได้บ้าง อยู่ในขั้นของการให้ข้อมูล หรือเหนือขึ้นไปอย่างวิเคราะห์และคาดเดาอนาคต เขย่าความคิดของคน เชื่อมโยงคนเข้าด้วยกัน ทำให้คนบรรลุจุดมุ่งหมายของเขาได้ หรือไปถึงจุดสูงสุดอย่างการสร้างแรงบันดาลใจให้คนใช้ชีวิตที่ดีขึ้น ยิ่งทำได้ในระดับที่สูงขึ้น ก็ยิ่งดีต่อตัวเราและคนอื่นๆ ซึ่งในท้ายสุดแล้ว Asset (สินทรัพย์) ที่สำคัญที่สุดของคนทำคอนเทนต์คือ “ความน่าเชื่อถือ” เมื่อไหร่ที่เราหวั่นไหวกับเงิน คนอ่านก็จะเสียความเชื่อมั่นในตัวเราได้ง่าย วงการนี้มันโหด เพราะสิ่งล่อใจมันเยอะ เมื่อไหร่ที่เราให้เงินมาอยู่เหนือคุณค่าตัวเอง ทุกอย่างก็จะ “จบ” ”
ซึ่งในสัปดาห์ที่ 2 นั้น ในหัวข้อ มีบล็อกช่องทางเดียวพอมั้ย ปรับตัวยังไงให้เข้าได้ทุก Platform ได้รับการบรรยายโดย คุณเนม ธีรนัย สิทธิจำลอง จาก Wongnai.com พร้อมข้อคิดจากการบรรยายความว่า “ในปัจจุบันการมีบล็อกเพียงช่องทางเดียวนั้นอาจจะไม่เพียงพอสำหรับคนในปัจจุบัน เพราะการมีหลายช่องทางคือการช่วยกระจายความเสี่ยง แต่ไม่ใช่ว่าทุกสายจะต้องมีทุกช่องทาง เพราะบางช่องทางเองก็อาจจะจำเป็นต่อบางสาย แต่ไม่จำเป็นสำหรับบางสาย โดยสามารถประยุกต์แนวการวิเคราะห์แบบเป็ด หรือ DUCK โดยแบ่งออกเป็น 4 ข้อด้วยกัน ได้แก่ D : Define Target Audience กลุ่มเป้าหมายของเราเป็นใคร ถ้าจะสื่อสารกับเขาควรไปลงช่องทางไหน เพราะทุกวันนี้ Facebook ก็ลด Reach ลงเรื่อยๆ U : Useful คอนเทนต์ที่ดีต้องมีประโยชน์และสร้างคุณค่าได้ อาจช่วยแก้ปัญหา สร้างแรงบันดาลใจ สร้างความสนุก หรือรวดเร็ว ควรจะมีคีย์เวิร์ดที่ดีเพื่อให้คนค้นหามาเจอได้ง่ายขึ้น C : Consistency ทำอย่างไรให้ต่อเนื่อง ทาง Wongnai จะมีเป้าหมายวางไว้ในแต่ละ Quarter สำหรับแต่ละคน นอกจากนี้ต้องมีการวัดผลที่ชัดเจนได้ด้วย K : Keep Feedback พยายามเรียนรู้จากความล้มเหลว”
ทางด้าน คุณเอม นภพัฒน์จักษ์ อัตตนนท์ บรรณาธิการข่าวออนไลน์ จาก Workpoint ได้ร่วมแชร์มุมมองผ่านประสบการณ์จริงถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากสายตาของนักข่าวว่า “เนื่องจากสื่อโทรทัศน์กับออนไลน์มีความแตกต่างกันหลายอย่าง เมื่อวันที่โลกออนไลน์เข้ามาก็ต้องมีการปรับตัวหลายๆ อย่างไม่ให้ถูก Disrupt ซึ่งเอาจริงๆ แล้วทุกวันนี้ก็มีหลายสิ่งหลายอย่างที่พร้อมจะเข้ามา Disrupt ตลอดเวลา การปรับตัวจากโทรทัศน์สู่ออนไลน์ อย่างแรกคือ Conversational หรือภาษาที่ใช้ เพราะเมื่อก่อนทีวีคือแหล่งที่รวบรวมสิ่งที่เป็นที่ยอมรับในสังคม คนจะมองว่าเป็นที่ที่เป็นทางการ แต่มือถือเป็นที่รวบรวมของทุกอย่าง ภาษาที่ใช้ก็จะเปลี่ยนไป แต่ละช่องทางเองก็มีภาษาที่ต่างกันอีก”
และในสัปดาห์ที่ 3 ซึ่งถือเป็นสัปดาห์สุดท้ายของโครงการฯได้พูดถึงเกี่ยวกับ Data Analysis โดยเริ่มจาก คุณอร อรวี สมิทธิผล จาก Content Shifu ที่มาแชร์เนื้อหาทางเทคนิคเกี่ยวกับการวิเคราะห์ Data ในหัวข้อ “วิเคราะห์ Stat อย่างมีสติ! ปรับคอนเทนต์อย่างไรให้เหมาะสมกับ Consumer Insight ของแฟนคลับ” กล่าวว่า “บล็อกเกอร์ส่วนมากนั้น สามารถทำคอนเทนต์ได้ดี เพียงแต่ไม่เคยดู Stats บางคนดูแต่ไม่เคยวิเคราะห์ว่าจะทำให้ดีขึ้นอย่างไร จึงมีเคล็ดลับ 5 ข้อมาช่วยในการในการดูและวิเคราะห์ Stat ให้ลองปรับใช้คือ 1) อย่าดูเฉพาะ Metrics ที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า : Stats ที่ Facebook วัดได้นั้นมันลึกกว่าที่เราเห็นโชว์อยู่ เราสามารถ Export ออกมาเป็นไฟล์ Excel ได้ ซึ่งสามารถใช้ Tools ของ Excel อย่าง Pivot Table ช่วยให้เราวิเคราะห์ต่อได้ 2) เลือกวัด Performance หลายๆ ประเภทที่เหมาะกับตัวเอง : เพราะบล็อกแต่ละบล็อกไม่เหมือนกัน ควรดูว่าตัวเองเป็นบล็อกสไตล์ไหน และควรใช้ Metrics อะไรในการวัด ยอดแชร์อาจสำคัญสำหรับบางเพจ บล็อกที่เน้นเทคนิกไปเลย ไม่ได้เข้าถึงคนทั่วไปมาก อาจจะไม่ต้องสนใจค่าแชร์เลยด้วยซ้ำ 3) อย่าลืมความสำคัญของข้อมูลเชิงคุณภาพ : ไม่ใช่แค่ยอดตัวเลข แต่ลองหาวิธีวัดความคิดเห็นของผู้ติดตามของเราด้วย จริงๆ แล้วถ้าเรามีช่องทางให้เขา Feedback หลายๆ คนก็ยินดีที่จะบอกเราเหมือนกัน 4) นอกจาก Internal Data ให้ศึกษา External Data ด้วย : มี Tools หลายอย่างที่ช่วยให้เราได้ข้อมูลที่เป็นเทรนด์ เป็นกระแส หรือดูภาพรวมของบล็อกใกล้เคียง หรือคนที่น่าสนใจด้วย เช่น Google Trends, Google Keyword Planner, Social.gg, Likealyzer, Buzzumo ฯลฯ 5) เปลี่ยน Data ให้เป็น Knowledge และ Action : Data หรือข้อมูลที่มีจะไม่มีประโยชน์อะไรเลยถ้าเราไม่เอามาวิเคราะห์และนำไปใช้งาน เพราะฉะนั้นจงใช้ประโยชน์จากข้อมูลให้มากที่สุด”
สำหรับในช่วงการบรรยายสุดท้ายของโครงการฯ ในปีที่ 2 นี้ ทางด้าน คุณนกแก้ว นเรศ ติยะวัฒน์วิทย์ จาก Rainmaker และ คุณแอ๊ม ศรัณย์ แบ่งกุศลจิต จากสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย ได้สรุปปิดท้ายในหัวข้อ “บูสต์หรือไม่บูสต์ยังไงดี? จ่ายตังค์ทั้งทีอย่าเสียไปเปล่าๆ” โดยได้มีการแชร์เทคนิคในการบูสต์โพสต์ทั้ง 5 ข้อไว้ดังนี้
- ควรรู้ว่าคอนเทนต์ที่ทำ ใครจะเป็นคนอ่าน เพื่อบูสได้ตรง Target
- คอนเทนต์ที่ไปได้ดีแบบ Organic อาจจะลองบูสต์ เพราะพิสูจน์มาแล้วว่ามีคนอยากอ่านเยอะ
- ติดตามข่าวสารการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบต่างๆ จาก Facebook อยู่เสมอ
- เราต้องเข้าใจคนที่ติดตามเราอยู่ให้มากที่สุด เขาเป็นคนแบบไหน เขาชอบอะไรและไม่ชอบอะไร
- จงอย่าเสียดายเงินที่บูสต์โพสต์ เพราะเราเสียเงิน เสียเวลาทำคอนเทนต์มาเยอะแล้ว ควรวางอัตราส่วนในการบูสต์โพสต์ ต่อส่วนของคอนเทนต์ที่เราทำ
ถึงแม้ โครงการ Blogger’s Bootcamp by CP All บล็อกกาภิวัตน์ อย่าให้อนาคต Disrupt เรา ได้จบไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วในปี 2561 นี้ แต่องค์ความรู้ต่างๆ ที่ถูกถ่ายถอดไปในโครงการครั้งนี้จะยังคงถูกพัฒนาและส่งต่อผ่านการสร้างสรรค์งานที่มีคุณภาพและรับผิดชอบต่อสังคมโดยผู้เข้าร่วมงานทั้ง 60 คนต่อไป และสำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโครงการ Blogger’s Bootcamp by CP All ได้ที่ เว็บไซต์ http://blogger.cpall.co.th/ และ Facebook Page: https://www.facebook.com/blogger.cpall/