แนวโน้มการเติบโตของตลาดบะหมี่ในประเทศไทยมูลค่ากว่า 2.6 หมื่นล้านบาท ยังคงมีเติบโตอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วเฉลี่ย 10.7% ต่อปี มีสัดส่วนเป็นผลิตภัณฑ์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปถึง 80.24% ขณะที่ผู้บริโภคชาวไทยมีอัตราการบริโภคบะหมี่เฉลี่ยเป็นอันดับ 9 ของโลก คิดเป็น 3.6 พันล้านซองต่อปี หรืออยู่ที่ประมาณ 55 ซองต่อปีต่อปี
ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
- Brand Move !!
- Brand Move !!
ไวไว ปรุงสำเร็จ แบบชาม กับการขยับตัวครั้งแรก ในรอบ 40 ปีของสินค้าระดับ Signature ของแบรนด์
by ppby ppเป็นกระแสมาสักพักแล้ว สำหรับการเปิดตัว SKU ใหม่ ในแพกเกจแบบชาม ของผลิตภัณฑ์ที่เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งความ “คลาสสิก” ในตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของไทย อย่าง ไวไว รสปรุงสำเร็จ รสชาติแรกดั้งเดิมมากว่า 40 ปี ของไวไว และยังถือเป็นรสชาติขายดีอันดับหนึ่งของไวไว ด้วยการครองสัดส่วนราวครึ่งหนึ่งของยอดขายไวไวเลยทีเดียว
- Brand Move !!
เมื่อ Brand Loyalty ต่ำ รสชาติก็ไม่ต่าง “ไวไว” เลือกเดินทางใหม่ แตกไลน์ 3 ธุรกิจอาหารแห่งอนาคต ที่มากกว่าแค่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
by ppby ppข้อมูลจาก “บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไวไว” ที่ศึกษาผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายแล้วพบว่า ลูกค้ามีแบรนด์ลอยัลตี้ในระดับต่ำลงเรื่อยๆ ขณะที่ความนิยมในรสชาติก็ลดน้อยลง และยังหาความแตกต่างในตลาดได้ยาก ประกอบกับเทรนด์ผู้บริโภคที่เกิดขึ้นทั้งการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ บวกกับกระแสดิจิทัลที่เข้ามาเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างสิ้นเชิง ทำให้สามารถเข้าถึงทางเลือกต่างๆ ที่หลากหลายได้เป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ภาพรวมในธุรกิจอาหารเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยเฉพาะความต้องการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- Brand Move !!
ยำยำจัมโบ้ รสต้มยำกุ้ง ปรับสูตรใหม่ เนื้อกุ้งแท้ๆ แก้ Pain Point คนกินบอก “ไม่อร่อย”
by Uncle Kby Uncle Kปีนี้ “ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” แข่งกันจนแซ่บแสบไส้ เลยก็ว่าได้ ทั้งผู้นำตลาดแบรนด์ “มาม่า” ส่งรสชาติใหม่ เส้นเล็ก “เล้งแซบ” ฉีกความต่างจากรสชาติเดิมๆ ทิ้งห่างคู่แข่ง ส่วน “ผู้ตาม” เบอร์รอง ยังคงหากลยุทธ์แก้เกมเพื่อไล่กวดให้ก้าวทันผู้นำ ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ “ไวไว” ปรับสูตร-ออกรสชาติใหม่ หวังปรับภาพจำของผู้บริโภค ที่เรียกชื่อแบรนด์เป็น “Generic name” ให้ลืมคำว่า “มาม่า” มาเป็น “ไวไว” แทน ล่าสุดถึงคิว “ยำยำ” หลังต้องสูญเสียส่วนแบ่งตลาดจากปีที่มี …
- Brand Move !!
กลยุทธ์ของเบอร์ 2 ของ “ไวไว” ขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ยังต้องมี Emotion
by Uncle Kby Uncle Kบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นหนึ่งในหลายสินค้า มี Generic Name คนส่วนใหญ่มักจะเรียกว่า “มาม่า” ไม่ว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบรนด์ไหน ก็มักถูกเรียกว่า “มาม่า” ไปหมด และอานิสงค์ก็คงตกไปเป็นของแบรนด์ผู้นำตลาดอย่างแบรนด์ “มาม่า” ของเครือสหพัฒน์ อย่างปฏิเสธไม่ได้ ทำให้เวลาทำการตลาดอะไรผู้บริโภคก็รับรู้ได้ง่าย ถือเป็นโจทย์ท้าทายของสินค้าแบรนด์อื่นๆ ในตลาด ว่าจะทำอย่างไรให้ผู้บริโภคนึกถึงแบรนด์ของตัวเอง มากกว่าแบรนด์คู่แข่งให้ได้มากที่สุด
- Brand Move !!
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ต้องแซบแค่ไหน? มาม่า ส่งรสชาติใหม่ “เล้ง” ก็มา “ต้มแซบ” ก็มี หรือแค่ต้มยำกุ้งไม่พอเสียแล้ว
by Uncle Kby Uncle Kธุรกิจอาหาร เรื่องรสชาติ ต้องมาเป็นที่ 1 เพราะถ้าไม่อร่อย คือ จบ!! เครื่องมือการตลาดอะไรก็เอามาเข็นยอดขายไม่ขึ้น แต่จะเอารสชาติเดิมๆ ทำตลาดแบบอยู่ยงคงกระพัน หากินยาวๆ ก็ไม่ใช่แน่ เพราะคนเดี๋ยวนี้เบื่อง่ายหน่ายเร็ว ตัวเลือกก็เยอะ อะไรที่ “ใหม่กว่า-ดีกว่า-อร่อยกว่า” มักมาแทนที่ของเก่า หรือรสชาติเดิมๆ เสมอ สิ่งที่นักการตลาดคิดกันอยู่เสมอ คือ ทำยังไงจะ “รักษาฐานลูกค้าเก่า และขยายฐานได้ลูกค้าใหม่” ธุรกิจอาหารจึงต้องมี “เมนูใหม่-รสชาติใหม่” ออกมากระตุ้นยอดขายกันเป็นระยะๆ ขณะเดียวกันรสชาติหลักก็ต้องถูกปากนักชิมแบบยาวๆ
-
นับเป็นอีกหนึ่งตลาดที่ผู้นำมีความแข็งแกร่งอย่างมาก จนสามารถทำให้แบรนด์ตัวเองกลายเป็น Generic Name รวมทั้งยังสามารถกินแชร์ไปได้มากกว่าครึ่งหนึ่ง ตลาดที่ว่านี้คือตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ที่หลายคนเรียกชื่อตามแบรนด์เจ้าตลาดอย่าง “มาม่า” จนติดปาก ด้วยแชร์ที่มีอยู่สูงถึง 50-51% จากมูลค่าตลาดรวมกว่า 15,000 ล้านบาท